จังหวัดราชบุรี
จังหวัดราชบุรี
ตราประจำ จ. ราชบุรี
ภาพฉลองพระบาทคู่ประดิษฐานบนพานทอง มีพระแสงขรรค์ชัยศรีวางพาดบนบันไดแก้ว ชื่อ "ราชบุรี" หมายถึงเมืองของพระมหากษัตริย์ ดังนั้นจึงใช้เครื่องราชกกุธภัณฑ์ดังกล่าวเป็นตราประจำจังหวัด
คำขวัญ
คนสวยโพธาราม คนงามบ้านโป่ง เมืองโอ่งมังกร วัดขนอนหนังใหญ่ ตื่นใจถ้ำงาม ตลาดน้ำดำเนิน เพลินค้างคาวร้อยล้าน ย่านยี่สกปลาดี
"คนสวยโพธาราม คนงามบ้านโป่ง"
วลีนี้เริ่มติดปากชาวบ้านมาแต่ครั้งไหนไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัด บ้างว่าเป็นพระราช-ดำรัสของพระเจ้าแผ่นดิน บ้างว่าคือความงามหมดจดของหญิงสาวสองอำเภอนี้จริงๆ ครั้งที่รัชกาลที่ ๕ เสด็จประพาสไทรโยคทางชลมารคเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๓๑ พระองค์ได้เสด็จประพาสย่านตลาดโพธารามด้วย ราษฎรชาวไทย จีน มอญ และลาวที่อาศัยอยู่ในบริเวณนั้นต่างพร้อมใจกันแต่งกายอย่างสวยงามมาเฝ้าฯ รับเสด็จ
พระองค์ตรัสชมว่า "คนโพธารามนี้สวย" และเมื่อเสด็จฯ ถึงบ้านโป่งยังตรัสชมชาวบ้านโป่งที่ไปเฝ้าฯ รับเสด็จเป็นจำนวนมากว่า"คนบ้านโป่งนี้งาม"คนพื้นถิ่นเชื้อสายจีนเมื่อผสมผสานกับคนมอญผิวสีน้ำผึ้ง หน้าตาคมขำ ลูกหลาน รุ่นต่อมาจึงมีความสวยความงามอันเป็นที่มาของวลีข้างต้น
"เมืองโอ่งมังกร"
ด้วยความบังเอิญที่ช่างปั้นเครื่องปั้นดินเผาชาวจีนแต้จิ๋วพบว่า ดินเมืองราชบุรีมีคุณภาพดี เหมาะเป็นวัตถุดิบหลักในการปั้นโอ่งมังกรกระทั่งเกิดเป็นตำนานโอ่งมังกรแห่งเมืองราชบุรี ที่มีชื่อเสียงจวบจนปัจจุบัน นายจือเหม็ง แซ่อึ้ง และนายซ่งฮง แซ่เตีย ชาวจีนแต้จิ๋วผู้ชำนาญการทำเครื่องปั้นดินเผา เป็นผู้เริ่มต้นการทำโอ่งราชบุรี โดยนำ "ดินมันปู"สีแดงจากท้องนามาปั้นเป็นโอ่งมีคุณภาพดี ต่อมาจึงร่วมกับเพื่อนชาวจีนแต้จิ๋วตั้งโรงงานเถ้าเซ่งหลีขึ้นเมื่อปี ๒๔๗๖ (ปัจจุบันเลิกกิจการไปแล้ว) หลังสงครามโลกครั้งที่ ๒ ทั้งสองแยกตัวไปตั้งโรงงานโอ่งเถ้าแซไถ่ ซึ่งถือเป็นผู้ผลิตโอ่งเขียนลายด้วยดินขาวอย่างจีนเจ้าแรกๆ ของเมืองไทยโอ่งมังกรจากราชบุรีเป็นภาชนะเก็บน้ำที่ได้รับความนิยมไปทั่วประเทศมานานกว่า ๘๐ ปี ปัจจุบัน จ. ราชบุรีมีโรงงานผลิตโอ่งมังกรและเครื่องเคลือบประเภทอื่นมากกว่า ๕๐ โรง โดยมีแหล่งดินซึ่งเป็นวัตถุดิบสำคัญอยู่ในบริเวณ ต. เจดีย์หัก และ ต. หลุมดิน เขต อ. เมืองราชบุรี
"วัดขนอนหนังใหญ่"
ด้วยพระราชดำริของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารีในเรื่องการอนุรักษ์หนังใหญ่วัดขนอน ตัวหนังใหญ่วัดขนอนจึงกลับมามีชีวิตชีวาอีกครั้งหนังใหญ่ของวัดขนอน ใน ต. สร้อยฟ้า อ. โพธาราม ถือกำเนิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๕ เมื่อมีผู้นำตัวหนังใหญ่ ๒๐ตัวและหนังวัวจำนวนมากมาถวายวัดเพื่อใช้ทำหน้ากลอง ท่านพระครูศรัทธาสุนทร (กล่อม จันทโชโต) เจ้าอาวาสวัดในขณะนั้น จึงร่วมกับครูอั๋ง มีประเสริฐ ครูโขนของเจ้าเมืองราชบุรี พร้อมช่างจาด ช่างจ๊ะ ช่างพ่วง และชาวบ้านแถบวัดขนอน ช่วยกันสร้างตัวหนังใหญ่ชุดแรกคือชุดหนุมานถวายแหวน แล้วมีการสร้างตัวหนังชุดต่างๆ ต่อมาอีกถึง ๑๑ ชุด ความวุ่นวายของบ้านเมืองช่วงสงครามโลกครั้งที่ ๒ ประจวบกับเมื่อท่านพระครูศรัทธาสุนทมรณภาพในปี ๒๔๘๕ ทำให้การแสดงหนังใหญ่วัดขนอนร้างราไป กระทั่งปี ๒๕๓๒ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี มีพระราชดำริอนุรักษ์หนังใหญ่แห่งลุ่มน้ำแม่กลอง โดยโปรดเกล้าฯ ให้สร้างตัวหนังชุดใหม่เพื่อใช้แสดงแทนของเดิม ปัจจุบันวัดขนอนมีตัวหนังใหญ่ทั้งหมด ๓๑๓ ตัว และมีการจัดแสดงตัวหนังชุดเก่าในพิพิธภัณฑ์ด้วย
"ตื่นใจถ้ำงาม"
ราชบุรีมีเขาหินปูนอยู่เป็นจำนวนมาก เกิดเป็นโถงถ้ำที่มีหินงอกหินย้อย สวยงามเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียง ในปี ๒๔๓๘ ครั้งที่รัชกาลที่ ๕ เสด็จประพาสถ้ำมุจลินท์ ในเขต อ. จอมบึง ทรงจินตนาการเห็นหินงอกหินย้อยที่ผาวิจิตรมีรูปลักษณ์เหมือนริ้วไหมอินทรธนูบนบ่าของจอมพล พระองค์จึงพระราชทานนามให้ใหม่ว่าถ้ำจอมพล ภายในถ้ำมีหินงอกหินย้อยอันสวยงามตระการตามีชื่อเรียกต่างๆ กัน เช่น ธารศิลา สร้อยระย้า แส้จามรี ผาวิจิตร ฯลฯ ลึกเข้าไปเป็นโถงถ้ำที่เพดานทะลุเป็นปล่องกว้าง มีแสงส่องลงมาต้องพระพุทธรูปปางลีลาที่ประดิษฐานอยู่ เป็นความงามมีเสน่ห์ของถ้ำนี้อีกถ้ำหนึ่งซึ่งเป็นที่รู้จักคือถ้ำเขาบิน อยู่ห่างจากตัวเมืองไปทางทิศตะวันตกประมาณ ๒๐ กม. ภายในถ้ำมีเนื้อที่ราว ๕ ไร่เศษ แบ่งออกเป็นห้องต่างๆ มีชื่อเรียกตามลักษณะของหินงอกหินย้อย เช่น โถงอาคันตุกะศิวะสถาน ธารอโนดาต สกุลชาติคูหา เป็นต้น
"ตลาดน้ำดำเนิน"
ตามลำคลองดำเนินสะดวกมีตลาดน้ำหลายแห่ง ที่เป็นที่รู้จักคือตลาดน้ำดำเนินสะดวก ตลาดน้ำดำเนินสะดวก หรือตลาดน้ำคลองต้นเข็มอยู่ในคลองซอยที่แยกออกมาจากคลองดำเนินสะดวกบริเวณที่เรียกว่าหลักแปด เป็นที่รู้จักของนักท่องเที่ยวชาวไทยและชาวต่างประเทศคลองดำเนินสะดวกเป็นคลองตรงยาว ๓๒ กม. เศษ รัชกาลที่ ๔ โปรดเกล้าฯ ให้ขุดขึ้นในช่วงปลายปี ๒๔๐๙ เพื่อเชื่อมแม่น้ำท่าจีนกับแม่น้ำแม่กลอง ลำคลองในแม่น้ำท่าจีนเริ่มต้นที่ประตูน้ำบางยาง ต. กระทุ่มแบน อ. บ้านแพ้ว จ. สมุทรสาคร ผ่าน อ. ดำเนินสะดวก จ. ราชบุรีแล้วไปสบกับแม่น้ำแม่กลองที่ประตูน้ำบางนกแขวก ต. บางนกแขวก อ. บางคนที ใน จ. สมุทรสงคราม
"เพลินค้างคาวร้อยล้าน"
มูลของค้างคาวนับร้อยล้านตัวที่ถ้ำเขาช่องพราน เป็นปุ๋ยอินทรีย์ชั้นเลิศของชาวสวนเมืองราชบุรี และเป็นของมีค่าสร้างรายได้ให้วัดปีละหลายล้านบาท ถ้ำเขาช่องพรานอยู่ในบริเวณวัดเขาช่องพราน ต. เตาปูน อ. โพธาราม เป็นที่อาศัยของค้างคาวนับร้อยล้านตัว ทั้งค้างคาวปากย่นและค้างคาวเคราดำ ค้างคาวเป็นหนึ่งในสัตว์หลายชนิดที่สำนักอนุรักษ์สัตว์ป่าประกาศเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง จึงมีเจ้าหน้าที่คอยดูแลไม่ให้ค้างคาวในถ้ำนี้ถูกรบกวน ช่วงพลบค่ำฝูงค้างคาวนี้จะบินออกมาทางปากถ้ำเป็นสายยาวฉวัดเฉวียนไปตามกระแสลม นานนับชั่วโมงกว่าจะสิ้นสุดค้างคาวฝูงนี้เป็นพันธุ์กินแมลง มูลของมันจึงแห้งไม่เหลวและมีสารแอมโมเนียซึ่งเป็นองค์ประกอบของปุ๋ยชั้นดีกลายเป็นของมีราคา ทางวัดเปิดให้ชาวสวนเข้ามาประมูล ทำรายได้เข้าวัดเรือนแสนเรือนล้านต่อปี
"ย่านยี่สกปลาดี"
ปลายี่สกมีเนื้อหวานอร่อย เคยมีชุกชุมในลำน้ำแม่กลองช่วงไหลผ่าน จ. ราชบุรี แต่ปัจจุบันกำลังจะกลายเป็นอดีตเพราะมลภาวะทางน้ำและการสร้างเขื่อนลำน้ำแม่กลองช่วงที่ไหลผ่าน จ. ราชบุรี ตั้งแต่ อ. บ้านโป่ง เรื่อยไปจนถึง อ. เมือง เคยได้ชื่อว่าเป็นแหล่งปลายี่สกชุกชุม ปลายี่สกเป็นปลาน้ำจืดขนาดใหญ่ มีชื่อเรียกแตกต่างกันไปตามถิ่นอาศัย ในลุ่มน้ำแม่กลองเรียกว่า "ปลายี่สกทอง"ตามลักษณะเกล็ดที่เป็นสีเหลืองทอง เมื่อโตเต็มที่จะมีน้ำหนักหลายสิบกิโลกรัม หนังหนา เนื้อเหลืองเหนียวแน่น รสชาติหวานอร่อย กลิ่นหอมเหมือนกลิ่นหัวเผือก มลภาวะทางน้ำและการสร้างเขื่อน ประกอบกับความนิยมของผู้บริโภค ทำให้ปลายี่สกทองในลำน้ำแม่กลองมีจำนวนลดลง และปลายี่สกก็ถูกขึ้นบัญชีเป็นสัตว์ใกล้สูญพันธุ์ไปแล้วเมื่อปี ๒๕๓๘ ปัจจุบันแหล่งที่พบปลายี่สกมากที่สุดคือแม่น้ำโขง รองลงมาคือแม่น้ำน่านส่วนในแม่น้ำแควน้อย แม่น้ำแควใหญ่ จ. กาญจนบุรี และแม่น้ำแม่กลอง จ. ราชบุรี แทบไม่มีปลายี่สกหลงเหลืออยู่
ราชบุรี
ราชบุรี ดินแดนวัฒนธรรมลุ่มน้ำแม่กลองและสายหมอกแห่งขุนเขาตะนาวศรี เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคกลางด้านตะวันตกที่มีภูมิประเทศหลากหลาย จากพื้นที่ที่ราบต่ำ ลุ่มแม่น้ำแม่กลองอันอุดม แหล่งเพาะปลูกพืชผักผลไม้เศรษฐกิจนานาชนิด สู่พื้นที่สูงทิวเทือกเขาตะนาวศรีทอดตัวยาวทางทิศตะวันตกจรดชายแดนไทย-พม่า จากตำนานและหลักฐานทางประวัติศาสตร์ทำให้สันนิษฐานได้ว่า ราชบุรีเป็นหัวเมืองที่เจริญรุ่งเรืองมากแห่งหนึ่งของแคว้นสุวรรณภูมิมาตั้งแต่สมัยที่พระเจ้าอโศกมหาราชแห่งอินเดีย ได้เผยแพร่พุทธศาสนาเข้ามาในดินแดนแถบนี้ เมื่อราวปี พ.ศ. ๒๑๘ โดยแคว้นสุวรรณภูมินี้มีศูนย์กลางการปกครองอยู่ที่นครปฐมหรือที่สมัยนั้นเรียกกันว่า “ทวารวดี” ราชบุรียังเป็นแหล่งพบปะของพ่อค้าวาณิชแต่ครั้งโบราณ ทั้งยังเป็นเมืองหน้าด่านที่ติดต่อกับพม่า ราชบุรีจึงเป็นดินแดนที่หลากหลายชาติพันธุ์และกลุ่มชนที่สุดแห่งหนึ่ง • ราชบุรีในวันนี้จึงเต็มไปด้วยสิ่งที่น่าสนใจมากมาย ทั้งประวัติศาสตร์ โบราณสถาน วิถีชีวิต วัฒนธรรม งานหัตถกรรมเครื่องปั้น เครื่องหล่อ ทอถักจักสาน ถ้ำธารป่าเขา และธรรมชาติที่งดงามท้ายทายการมาเยือนของผู้คนจากทุกมุมโลก• จังหวัดราชบุรีมีเนื้อที่ทั้งสิ้นประมาณ ๕,๑๙๖ ตารางกิโลเมตร แบ่งเขตการปกครองออกเป็น ๙ อำเภอ ๑ กิ่งอำเภอคือ อำเภอเมืองราชบุรี อำเภอโพธาราม อำเภอดำเนินสะดวก อำเภอปากท่อ อำเภอจอมบึง อำเภอบางแพ อำเภอวัดเพลง อำเภอสวนผึ้ง อำเภอบ้านโป่งและกิ่งอำเภอบ้านคาอาณาเขต ทิศเหนือ ติดต่อจังหวัดกาญจนบุรี ทิศใต้ ติดต่อจังหวัดเพชรบุรี ทิศตะวันออก ติดต่อจังหวัดสมุทรสาคร สมุทรสงคราม และนครปฐม ทิศตะวันตก ติดต่อประเทศสหภาพพม่าการเดินทาง• รถยนต์ เส้นทางสายเก่า สายเพชรเกษม ทางหลวงหมายเลข ๔ ผ่านบางแค-อ้อมน้อย-อ้อมใหญ่-นครชัยศรี-นครปฐม-ราชบุรีเส้นทางสายใหม่ เส้นทางหลวงหมายเลข ๓๓๘ จากกรุงเทพฯ-พุทธมณฑล-นครชัยศรี เข้าถนนเพชรเกษมบริเวณอำเภอนครชัยศรีก่อนถึงตัวเมืองนครปฐมประมาณ ๑๖ กิโลเมตร จากนั้นใช้ถนนเพชรเกษมตรงไปตัวเมืองราชบุรี• รถโดยสารประจำทาง บริษัท ขนส่ง จำกัด มีบริการเดินรถ จากสถานีขนส่งสายใต้ไปจังหวัดราชบุรีทุกวัน วันละหลายเที่ยว ใช้เวลาเดินทางประมาณ ๒ ชั่วโมง โทร. ๔๓๔-๕๕๕๗-๘ (รถธรรมดา) และ ๔๓๕-๑๑๙๙-๒๐๐ (รถปรับอากาศ) และที่จังหวัดราชบุรี บริษัทราชบุรีกลุ่ม ๗๖ จำกัด โทร. (๐๓๒) ๓๓๘๔๓๙, ๓๒๒๗๗๖, ๓๒๕๑๕๒นอกจากนี้จากสถานีขนส่งราชบุรีมีรถโดยสารไปยังจังหวัดใกล้เคียงคือ นครปฐม กาญจนบุรี สมุทรสงคราม และเพชรบุรี• รถไฟ การรถไฟแห่งประเทศไทย มีบริการรถไฟออกจากสถานีรถไฟหัวลำโพง และสถานีรถไฟธนบุรี(บางกอกน้อย) ทุกวัน ใช้เวลาเดินทางประมาณ ๒ ชั่วโมงติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่หน่วยบริการเดินทาง สถานีรถไฟกรุงเทพฯ โทร. ๒๒๓-๗๐๑๐, ๒๒๓-๗๐๒๐ หรือ ๑๖๙๐ สถานีรถไฟธนบุรี โทร. ๔๑๑-๓๑๐๒ และสถานีรถไฟราชบุรี โทร. (๐๓๒) ๓๓๗๐๐๒• ระยะทางจากอำเภอเมืองไปยังอำเภอต่างๆ ของจังหวัดราชบุรีวัดเพลง ๑๕ กิโลเมตร ดำเนินสะดวก ๕๐ กิโลเมตรบางแพ ๒๒ กิโลเมตรโพธาราม ๒๖ กิโลเมตรบ้านโป่ง ๔๒ กิโลเมตรจอมบึง ๓๐ กิโลเมตรสวนผึ้ง ๖๐ กิโลเมตรปากท่อ ๒๒ กิโลเมตร
ตราประจำ จ. ราชบุรี
ภาพฉลองพระบาทคู่ประดิษฐานบนพานทอง มีพระแสงขรรค์ชัยศรีวางพาดบนบันไดแก้ว ชื่อ "ราชบุรี" หมายถึงเมืองของพระมหากษัตริย์ ดังนั้นจึงใช้เครื่องราชกกุธภัณฑ์ดังกล่าวเป็นตราประจำจังหวัด
คำขวัญ
คนสวยโพธาราม คนงามบ้านโป่ง เมืองโอ่งมังกร วัดขนอนหนังใหญ่ ตื่นใจถ้ำงาม ตลาดน้ำดำเนิน เพลินค้างคาวร้อยล้าน ย่านยี่สกปลาดี
"คนสวยโพธาราม คนงามบ้านโป่ง"
วลีนี้เริ่มติดปากชาวบ้านมาแต่ครั้งไหนไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัด บ้างว่าเป็นพระราช-ดำรัสของพระเจ้าแผ่นดิน บ้างว่าคือความงามหมดจดของหญิงสาวสองอำเภอนี้จริงๆ ครั้งที่รัชกาลที่ ๕ เสด็จประพาสไทรโยคทางชลมารคเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๓๑ พระองค์ได้เสด็จประพาสย่านตลาดโพธารามด้วย ราษฎรชาวไทย จีน มอญ และลาวที่อาศัยอยู่ในบริเวณนั้นต่างพร้อมใจกันแต่งกายอย่างสวยงามมาเฝ้าฯ รับเสด็จ
พระองค์ตรัสชมว่า "คนโพธารามนี้สวย" และเมื่อเสด็จฯ ถึงบ้านโป่งยังตรัสชมชาวบ้านโป่งที่ไปเฝ้าฯ รับเสด็จเป็นจำนวนมากว่า"คนบ้านโป่งนี้งาม"คนพื้นถิ่นเชื้อสายจีนเมื่อผสมผสานกับคนมอญผิวสีน้ำผึ้ง หน้าตาคมขำ ลูกหลาน รุ่นต่อมาจึงมีความสวยความงามอันเป็นที่มาของวลีข้างต้น
"เมืองโอ่งมังกร"
ด้วยความบังเอิญที่ช่างปั้นเครื่องปั้นดินเผาชาวจีนแต้จิ๋วพบว่า ดินเมืองราชบุรีมีคุณภาพดี เหมาะเป็นวัตถุดิบหลักในการปั้นโอ่งมังกรกระทั่งเกิดเป็นตำนานโอ่งมังกรแห่งเมืองราชบุรี ที่มีชื่อเสียงจวบจนปัจจุบัน นายจือเหม็ง แซ่อึ้ง และนายซ่งฮง แซ่เตีย ชาวจีนแต้จิ๋วผู้ชำนาญการทำเครื่องปั้นดินเผา เป็นผู้เริ่มต้นการทำโอ่งราชบุรี โดยนำ "ดินมันปู"สีแดงจากท้องนามาปั้นเป็นโอ่งมีคุณภาพดี ต่อมาจึงร่วมกับเพื่อนชาวจีนแต้จิ๋วตั้งโรงงานเถ้าเซ่งหลีขึ้นเมื่อปี ๒๔๗๖ (ปัจจุบันเลิกกิจการไปแล้ว) หลังสงครามโลกครั้งที่ ๒ ทั้งสองแยกตัวไปตั้งโรงงานโอ่งเถ้าแซไถ่ ซึ่งถือเป็นผู้ผลิตโอ่งเขียนลายด้วยดินขาวอย่างจีนเจ้าแรกๆ ของเมืองไทยโอ่งมังกรจากราชบุรีเป็นภาชนะเก็บน้ำที่ได้รับความนิยมไปทั่วประเทศมานานกว่า ๘๐ ปี ปัจจุบัน จ. ราชบุรีมีโรงงานผลิตโอ่งมังกรและเครื่องเคลือบประเภทอื่นมากกว่า ๕๐ โรง โดยมีแหล่งดินซึ่งเป็นวัตถุดิบสำคัญอยู่ในบริเวณ ต. เจดีย์หัก และ ต. หลุมดิน เขต อ. เมืองราชบุรี
"วัดขนอนหนังใหญ่"
ด้วยพระราชดำริของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารีในเรื่องการอนุรักษ์หนังใหญ่วัดขนอน ตัวหนังใหญ่วัดขนอนจึงกลับมามีชีวิตชีวาอีกครั้งหนังใหญ่ของวัดขนอน ใน ต. สร้อยฟ้า อ. โพธาราม ถือกำเนิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๕ เมื่อมีผู้นำตัวหนังใหญ่ ๒๐ตัวและหนังวัวจำนวนมากมาถวายวัดเพื่อใช้ทำหน้ากลอง ท่านพระครูศรัทธาสุนทร (กล่อม จันทโชโต) เจ้าอาวาสวัดในขณะนั้น จึงร่วมกับครูอั๋ง มีประเสริฐ ครูโขนของเจ้าเมืองราชบุรี พร้อมช่างจาด ช่างจ๊ะ ช่างพ่วง และชาวบ้านแถบวัดขนอน ช่วยกันสร้างตัวหนังใหญ่ชุดแรกคือชุดหนุมานถวายแหวน แล้วมีการสร้างตัวหนังชุดต่างๆ ต่อมาอีกถึง ๑๑ ชุด ความวุ่นวายของบ้านเมืองช่วงสงครามโลกครั้งที่ ๒ ประจวบกับเมื่อท่านพระครูศรัทธาสุนทมรณภาพในปี ๒๔๘๕ ทำให้การแสดงหนังใหญ่วัดขนอนร้างราไป กระทั่งปี ๒๕๓๒ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี มีพระราชดำริอนุรักษ์หนังใหญ่แห่งลุ่มน้ำแม่กลอง โดยโปรดเกล้าฯ ให้สร้างตัวหนังชุดใหม่เพื่อใช้แสดงแทนของเดิม ปัจจุบันวัดขนอนมีตัวหนังใหญ่ทั้งหมด ๓๑๓ ตัว และมีการจัดแสดงตัวหนังชุดเก่าในพิพิธภัณฑ์ด้วย
"ตื่นใจถ้ำงาม"
ราชบุรีมีเขาหินปูนอยู่เป็นจำนวนมาก เกิดเป็นโถงถ้ำที่มีหินงอกหินย้อย สวยงามเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียง ในปี ๒๔๓๘ ครั้งที่รัชกาลที่ ๕ เสด็จประพาสถ้ำมุจลินท์ ในเขต อ. จอมบึง ทรงจินตนาการเห็นหินงอกหินย้อยที่ผาวิจิตรมีรูปลักษณ์เหมือนริ้วไหมอินทรธนูบนบ่าของจอมพล พระองค์จึงพระราชทานนามให้ใหม่ว่าถ้ำจอมพล ภายในถ้ำมีหินงอกหินย้อยอันสวยงามตระการตามีชื่อเรียกต่างๆ กัน เช่น ธารศิลา สร้อยระย้า แส้จามรี ผาวิจิตร ฯลฯ ลึกเข้าไปเป็นโถงถ้ำที่เพดานทะลุเป็นปล่องกว้าง มีแสงส่องลงมาต้องพระพุทธรูปปางลีลาที่ประดิษฐานอยู่ เป็นความงามมีเสน่ห์ของถ้ำนี้อีกถ้ำหนึ่งซึ่งเป็นที่รู้จักคือถ้ำเขาบิน อยู่ห่างจากตัวเมืองไปทางทิศตะวันตกประมาณ ๒๐ กม. ภายในถ้ำมีเนื้อที่ราว ๕ ไร่เศษ แบ่งออกเป็นห้องต่างๆ มีชื่อเรียกตามลักษณะของหินงอกหินย้อย เช่น โถงอาคันตุกะศิวะสถาน ธารอโนดาต สกุลชาติคูหา เป็นต้น
"ตลาดน้ำดำเนิน"
ตามลำคลองดำเนินสะดวกมีตลาดน้ำหลายแห่ง ที่เป็นที่รู้จักคือตลาดน้ำดำเนินสะดวก ตลาดน้ำดำเนินสะดวก หรือตลาดน้ำคลองต้นเข็มอยู่ในคลองซอยที่แยกออกมาจากคลองดำเนินสะดวกบริเวณที่เรียกว่าหลักแปด เป็นที่รู้จักของนักท่องเที่ยวชาวไทยและชาวต่างประเทศคลองดำเนินสะดวกเป็นคลองตรงยาว ๓๒ กม. เศษ รัชกาลที่ ๔ โปรดเกล้าฯ ให้ขุดขึ้นในช่วงปลายปี ๒๔๐๙ เพื่อเชื่อมแม่น้ำท่าจีนกับแม่น้ำแม่กลอง ลำคลองในแม่น้ำท่าจีนเริ่มต้นที่ประตูน้ำบางยาง ต. กระทุ่มแบน อ. บ้านแพ้ว จ. สมุทรสาคร ผ่าน อ. ดำเนินสะดวก จ. ราชบุรีแล้วไปสบกับแม่น้ำแม่กลองที่ประตูน้ำบางนกแขวก ต. บางนกแขวก อ. บางคนที ใน จ. สมุทรสงคราม
"เพลินค้างคาวร้อยล้าน"
มูลของค้างคาวนับร้อยล้านตัวที่ถ้ำเขาช่องพราน เป็นปุ๋ยอินทรีย์ชั้นเลิศของชาวสวนเมืองราชบุรี และเป็นของมีค่าสร้างรายได้ให้วัดปีละหลายล้านบาท ถ้ำเขาช่องพรานอยู่ในบริเวณวัดเขาช่องพราน ต. เตาปูน อ. โพธาราม เป็นที่อาศัยของค้างคาวนับร้อยล้านตัว ทั้งค้างคาวปากย่นและค้างคาวเคราดำ ค้างคาวเป็นหนึ่งในสัตว์หลายชนิดที่สำนักอนุรักษ์สัตว์ป่าประกาศเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง จึงมีเจ้าหน้าที่คอยดูแลไม่ให้ค้างคาวในถ้ำนี้ถูกรบกวน ช่วงพลบค่ำฝูงค้างคาวนี้จะบินออกมาทางปากถ้ำเป็นสายยาวฉวัดเฉวียนไปตามกระแสลม นานนับชั่วโมงกว่าจะสิ้นสุดค้างคาวฝูงนี้เป็นพันธุ์กินแมลง มูลของมันจึงแห้งไม่เหลวและมีสารแอมโมเนียซึ่งเป็นองค์ประกอบของปุ๋ยชั้นดีกลายเป็นของมีราคา ทางวัดเปิดให้ชาวสวนเข้ามาประมูล ทำรายได้เข้าวัดเรือนแสนเรือนล้านต่อปี
"ย่านยี่สกปลาดี"
ปลายี่สกมีเนื้อหวานอร่อย เคยมีชุกชุมในลำน้ำแม่กลองช่วงไหลผ่าน จ. ราชบุรี แต่ปัจจุบันกำลังจะกลายเป็นอดีตเพราะมลภาวะทางน้ำและการสร้างเขื่อนลำน้ำแม่กลองช่วงที่ไหลผ่าน จ. ราชบุรี ตั้งแต่ อ. บ้านโป่ง เรื่อยไปจนถึง อ. เมือง เคยได้ชื่อว่าเป็นแหล่งปลายี่สกชุกชุม ปลายี่สกเป็นปลาน้ำจืดขนาดใหญ่ มีชื่อเรียกแตกต่างกันไปตามถิ่นอาศัย ในลุ่มน้ำแม่กลองเรียกว่า "ปลายี่สกทอง"ตามลักษณะเกล็ดที่เป็นสีเหลืองทอง เมื่อโตเต็มที่จะมีน้ำหนักหลายสิบกิโลกรัม หนังหนา เนื้อเหลืองเหนียวแน่น รสชาติหวานอร่อย กลิ่นหอมเหมือนกลิ่นหัวเผือก มลภาวะทางน้ำและการสร้างเขื่อน ประกอบกับความนิยมของผู้บริโภค ทำให้ปลายี่สกทองในลำน้ำแม่กลองมีจำนวนลดลง และปลายี่สกก็ถูกขึ้นบัญชีเป็นสัตว์ใกล้สูญพันธุ์ไปแล้วเมื่อปี ๒๕๓๘ ปัจจุบันแหล่งที่พบปลายี่สกมากที่สุดคือแม่น้ำโขง รองลงมาคือแม่น้ำน่านส่วนในแม่น้ำแควน้อย แม่น้ำแควใหญ่ จ. กาญจนบุรี และแม่น้ำแม่กลอง จ. ราชบุรี แทบไม่มีปลายี่สกหลงเหลืออยู่
ราชบุรี
ราชบุรี ดินแดนวัฒนธรรมลุ่มน้ำแม่กลองและสายหมอกแห่งขุนเขาตะนาวศรี เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคกลางด้านตะวันตกที่มีภูมิประเทศหลากหลาย จากพื้นที่ที่ราบต่ำ ลุ่มแม่น้ำแม่กลองอันอุดม แหล่งเพาะปลูกพืชผักผลไม้เศรษฐกิจนานาชนิด สู่พื้นที่สูงทิวเทือกเขาตะนาวศรีทอดตัวยาวทางทิศตะวันตกจรดชายแดนไทย-พม่า จากตำนานและหลักฐานทางประวัติศาสตร์ทำให้สันนิษฐานได้ว่า ราชบุรีเป็นหัวเมืองที่เจริญรุ่งเรืองมากแห่งหนึ่งของแคว้นสุวรรณภูมิมาตั้งแต่สมัยที่พระเจ้าอโศกมหาราชแห่งอินเดีย ได้เผยแพร่พุทธศาสนาเข้ามาในดินแดนแถบนี้ เมื่อราวปี พ.ศ. ๒๑๘ โดยแคว้นสุวรรณภูมินี้มีศูนย์กลางการปกครองอยู่ที่นครปฐมหรือที่สมัยนั้นเรียกกันว่า “ทวารวดี” ราชบุรียังเป็นแหล่งพบปะของพ่อค้าวาณิชแต่ครั้งโบราณ ทั้งยังเป็นเมืองหน้าด่านที่ติดต่อกับพม่า ราชบุรีจึงเป็นดินแดนที่หลากหลายชาติพันธุ์และกลุ่มชนที่สุดแห่งหนึ่ง • ราชบุรีในวันนี้จึงเต็มไปด้วยสิ่งที่น่าสนใจมากมาย ทั้งประวัติศาสตร์ โบราณสถาน วิถีชีวิต วัฒนธรรม งานหัตถกรรมเครื่องปั้น เครื่องหล่อ ทอถักจักสาน ถ้ำธารป่าเขา และธรรมชาติที่งดงามท้ายทายการมาเยือนของผู้คนจากทุกมุมโลก• จังหวัดราชบุรีมีเนื้อที่ทั้งสิ้นประมาณ ๕,๑๙๖ ตารางกิโลเมตร แบ่งเขตการปกครองออกเป็น ๙ อำเภอ ๑ กิ่งอำเภอคือ อำเภอเมืองราชบุรี อำเภอโพธาราม อำเภอดำเนินสะดวก อำเภอปากท่อ อำเภอจอมบึง อำเภอบางแพ อำเภอวัดเพลง อำเภอสวนผึ้ง อำเภอบ้านโป่งและกิ่งอำเภอบ้านคาอาณาเขต ทิศเหนือ ติดต่อจังหวัดกาญจนบุรี ทิศใต้ ติดต่อจังหวัดเพชรบุรี ทิศตะวันออก ติดต่อจังหวัดสมุทรสาคร สมุทรสงคราม และนครปฐม ทิศตะวันตก ติดต่อประเทศสหภาพพม่าการเดินทาง• รถยนต์ เส้นทางสายเก่า สายเพชรเกษม ทางหลวงหมายเลข ๔ ผ่านบางแค-อ้อมน้อย-อ้อมใหญ่-นครชัยศรี-นครปฐม-ราชบุรีเส้นทางสายใหม่ เส้นทางหลวงหมายเลข ๓๓๘ จากกรุงเทพฯ-พุทธมณฑล-นครชัยศรี เข้าถนนเพชรเกษมบริเวณอำเภอนครชัยศรีก่อนถึงตัวเมืองนครปฐมประมาณ ๑๖ กิโลเมตร จากนั้นใช้ถนนเพชรเกษมตรงไปตัวเมืองราชบุรี• รถโดยสารประจำทาง บริษัท ขนส่ง จำกัด มีบริการเดินรถ จากสถานีขนส่งสายใต้ไปจังหวัดราชบุรีทุกวัน วันละหลายเที่ยว ใช้เวลาเดินทางประมาณ ๒ ชั่วโมง โทร. ๔๓๔-๕๕๕๗-๘ (รถธรรมดา) และ ๔๓๕-๑๑๙๙-๒๐๐ (รถปรับอากาศ) และที่จังหวัดราชบุรี บริษัทราชบุรีกลุ่ม ๗๖ จำกัด โทร. (๐๓๒) ๓๓๘๔๓๙, ๓๒๒๗๗๖, ๓๒๕๑๕๒นอกจากนี้จากสถานีขนส่งราชบุรีมีรถโดยสารไปยังจังหวัดใกล้เคียงคือ นครปฐม กาญจนบุรี สมุทรสงคราม และเพชรบุรี• รถไฟ การรถไฟแห่งประเทศไทย มีบริการรถไฟออกจากสถานีรถไฟหัวลำโพง และสถานีรถไฟธนบุรี(บางกอกน้อย) ทุกวัน ใช้เวลาเดินทางประมาณ ๒ ชั่วโมงติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่หน่วยบริการเดินทาง สถานีรถไฟกรุงเทพฯ โทร. ๒๒๓-๗๐๑๐, ๒๒๓-๗๐๒๐ หรือ ๑๖๙๐ สถานีรถไฟธนบุรี โทร. ๔๑๑-๓๑๐๒ และสถานีรถไฟราชบุรี โทร. (๐๓๒) ๓๓๗๐๐๒• ระยะทางจากอำเภอเมืองไปยังอำเภอต่างๆ ของจังหวัดราชบุรีวัดเพลง ๑๕ กิโลเมตร ดำเนินสะดวก ๕๐ กิโลเมตรบางแพ ๒๒ กิโลเมตรโพธาราม ๒๖ กิโลเมตรบ้านโป่ง ๔๒ กิโลเมตรจอมบึง ๓๐ กิโลเมตรสวนผึ้ง ๖๐ กิโลเมตรปากท่อ ๒๒ กิโลเมตร
อำเภอเมือง
อำเภอเมือง
ประวัติอำเภอเมือง
อำเภอเมืองเรืองราชบุรี เดิมเป็นที่ตั้งเมืองเรียกว่า " เมืองราชบุรี " มีฐานะเป็น มณฑลราชบุรี
อันเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักร " ทวาราวดี " ของชนชาติลาว เล่ากันว่า เมืองราชบุรีนี้ตัวเมืองเดิมตั้งอยู่ที่ตำบลบ้านไร่ (เดิมชื่อตำบลอู่เรือ ) อำเภอเมืองราชบุรี ในปัจจุบัน ต่อมาเมืองราชบุรีได้ร้างไปประมาณ 300 - 400 ปี ภายหลังพระเจ้าอู่ทอง ได้สร้างเมืองราชบุรีขึ้นใหม่ทีวัดมหาธาตุซึ่งอยู่ทางทิศเหนือของศาลากลางจังหวัดหลังเก่า ฝั่งขวาของแม่น้ำแม่กลองต่อมา เมื่อ พ.ศ. 2360 ( ร.ศ. 36 )
ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ทรงโปรดเกล้าให้ย้าย
เมืองราชบุรี มาตั้งอยู่ทางฝั่งซ้ายของแม่น้ำแม่กลอง คือที่ตั้งจังหวัดทหารบกราชบุรีครั้นปี พ.ศ. 2440 (ร.ศ. 116 )ได้เริ่มจัดระเบียบการปกครองท้องที่ ในครั้งนั้น ได้แบ่งการปกครองท้องที่ออกเป็น 5 อำเภอ เฉพาะอำเภอเมืองราชบุรี เดิมตั้งอยู่ที่ตำบลธรรมเสน อำเภอโพธารามในครั้งนั้น จึงเรียกว่า " แขวง"ต่อมา พ.ศ. 2441จึงได้ย้ายที่ว่าการอำเภอจากตำบลธรรมเสนมาตั้งที่ถนนอัมรินทร์ ตำบลหน้าเมือง มีพระแสนท้องฟ้า ( ป๋อง ยมคุปต์ ) เป็นนายอำเภอ ครั้นต่อมาบริเวณที่ที่ว่าการอำเภอเมืองราชบุรี ได้มีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงเป็นศูนย์การค้า จึงได้ย้ายที่ว่าการอำเภอเมืองราชบุรี ไปปลูกสร้างใหม่ณ บริเวณที่มีโครงการจัดตั้ง เป็นศูนย์ราชการปัจจุบัน
อาณาเขต
ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอโพธารามและอำเภอบางแพ
ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอวัดเพลงและอำเภอปากท่อ
ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอดำเนินสะดวกจังหวัดราชบุรี และอำเภอบางคนที จังหวัดสมุทรสงคราม
ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอจอมบึงและอำเภอปากท่อ
พื้นที่
อำเภอเมืองราชบุรี มีเนื้อที่ประมาณ 454.239 ตารางกิโลเมตร
ประวัติอำเภอเมือง
อำเภอเมืองเรืองราชบุรี เดิมเป็นที่ตั้งเมืองเรียกว่า " เมืองราชบุรี " มีฐานะเป็น มณฑลราชบุรี
อันเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักร " ทวาราวดี " ของชนชาติลาว เล่ากันว่า เมืองราชบุรีนี้ตัวเมืองเดิมตั้งอยู่ที่ตำบลบ้านไร่ (เดิมชื่อตำบลอู่เรือ ) อำเภอเมืองราชบุรี ในปัจจุบัน ต่อมาเมืองราชบุรีได้ร้างไปประมาณ 300 - 400 ปี ภายหลังพระเจ้าอู่ทอง ได้สร้างเมืองราชบุรีขึ้นใหม่ทีวัดมหาธาตุซึ่งอยู่ทางทิศเหนือของศาลากลางจังหวัดหลังเก่า ฝั่งขวาของแม่น้ำแม่กลองต่อมา เมื่อ พ.ศ. 2360 ( ร.ศ. 36 )
ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ทรงโปรดเกล้าให้ย้าย
เมืองราชบุรี มาตั้งอยู่ทางฝั่งซ้ายของแม่น้ำแม่กลอง คือที่ตั้งจังหวัดทหารบกราชบุรีครั้นปี พ.ศ. 2440 (ร.ศ. 116 )ได้เริ่มจัดระเบียบการปกครองท้องที่ ในครั้งนั้น ได้แบ่งการปกครองท้องที่ออกเป็น 5 อำเภอ เฉพาะอำเภอเมืองราชบุรี เดิมตั้งอยู่ที่ตำบลธรรมเสน อำเภอโพธารามในครั้งนั้น จึงเรียกว่า " แขวง"ต่อมา พ.ศ. 2441จึงได้ย้ายที่ว่าการอำเภอจากตำบลธรรมเสนมาตั้งที่ถนนอัมรินทร์ ตำบลหน้าเมือง มีพระแสนท้องฟ้า ( ป๋อง ยมคุปต์ ) เป็นนายอำเภอ ครั้นต่อมาบริเวณที่ที่ว่าการอำเภอเมืองราชบุรี ได้มีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงเป็นศูนย์การค้า จึงได้ย้ายที่ว่าการอำเภอเมืองราชบุรี ไปปลูกสร้างใหม่ณ บริเวณที่มีโครงการจัดตั้ง เป็นศูนย์ราชการปัจจุบัน
อาณาเขต
ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอโพธารามและอำเภอบางแพ
ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอวัดเพลงและอำเภอปากท่อ
ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอดำเนินสะดวกจังหวัดราชบุรี และอำเภอบางคนที จังหวัดสมุทรสงคราม
ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอจอมบึงและอำเภอปากท่อ
พื้นที่
อำเภอเมืองราชบุรี มีเนื้อที่ประมาณ 454.239 ตารางกิโลเมตร
อำเภอดำเนินสะดวก
อำเภอดำเนินสะดวก
ประวัติอำเภอดำเนินสะดวก
ประวัติอำเภอดำเนินสะดวกเริ่มขึ้นก่อน พ.ศ. 2400 พื้นที่มีสภาพเป็นที่ราบลุ่มมีป่าดงไผ่และต้นเสือหมอบ เมื่อถึงฤดูน้ำหลากจะท่วมพื้นที่เกือบทั้งหมดของอำเภอสภาพท้องที่สมัยไม่มีลำคลองมากมายเช่นในปัจจุบัน
ในสมัยรัชการที่ 4 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชดำริว่าเนื้อที่ดินในเขตอำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี และอำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาครเป็นพื้นที่ดินราบลุ่มมีอาณาบริเวณหลายหมื่นไร่ หากให้ขุด คลองขึ้นโดยผ่านพื้นที่ทั้งสองอำเภอก็จะเกิดประโยชน์มากมาย แก่ราษฎรที่จะเข้ามาจับจองที่ดิน ประกอบการเกษตร ลำคลองนี้จะเป็นเส้นทางลำเลี่ยงสินค้าเข้าสู่ตัวเมืองหลวงได้สะดวกเป็นเส้นทางคมนาคมระหว่างกรุงเทพ กับจังหวัดราชบุรี การขุดคลองเริ่มต้นจากจุดริมแม่น้ำท่าจีน ตำบลบางยาง อำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร เป็นเส้นตรง ผ่านตำบลโคกไผ่ ( ปัจจุบันคือตำบลดอนไผ่) และขุดผ่านเข้ามาในเขตอำเภอปากคลองแพงพวย ( อำเภอดำเนินสะดวกเดิม) จนถึงแม่น้ำแม่กลองที่ปากคลองบางนกแขวก คลองนี้ได้ทำการขุดสำเร็จเมื่อ พ.ศ. 2410 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว(ร. 5) ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้กระทำพิธีเปิดใช้คลองเมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2411 อำเภอดำเนินสะดวก ตั้งอยู่ที่ปากคลองลัดราชบุรีถึง พ.ศ.2455 ทางราชการจึงได้ย้ายไปตั้งอยู่ที่ตำบลรางยาวฝั่งตะวันออก เหตุที่ย้ายที่ว่าการอำเภอ เนื่องจากสถานที่เดิมคับแคบไม่เหมาะแก่การขยายสถานที่ราชการอำเภอดำเนินสะดวก เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดราชบุรี อยู่ทางทิศตะวันตกของตัวจังหวัด ตั้งอยู่หมู่ที่ 1 ตำบลดำเนินสะดวกมีพื้นที่รวมทั้งสิ้น 198.97 ตารางกิโลเมตร
คำขวัญ
เมืองสองฝั่งคลองประวัติศาตร์ เสด็จประพาสต้น ร.5 เลื่องลือชาองุ่นหวาน ชาวบ้านน้ำใจงาม
ล้นหลามผักผลไม้ รายได้หลัก เรารักตลาดน้ำดำเนิน
อาณาเขต
ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอบางแพ จังหวัดราชบุรี และอำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี
ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอบางคนที และอำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม
ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอบางแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร
ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี อำเภอบางคนที จังหวัดสมุทรสงคราม
ประวัติอำเภอดำเนินสะดวก
ประวัติอำเภอดำเนินสะดวกเริ่มขึ้นก่อน พ.ศ. 2400 พื้นที่มีสภาพเป็นที่ราบลุ่มมีป่าดงไผ่และต้นเสือหมอบ เมื่อถึงฤดูน้ำหลากจะท่วมพื้นที่เกือบทั้งหมดของอำเภอสภาพท้องที่สมัยไม่มีลำคลองมากมายเช่นในปัจจุบัน
ในสมัยรัชการที่ 4 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชดำริว่าเนื้อที่ดินในเขตอำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี และอำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาครเป็นพื้นที่ดินราบลุ่มมีอาณาบริเวณหลายหมื่นไร่ หากให้ขุด คลองขึ้นโดยผ่านพื้นที่ทั้งสองอำเภอก็จะเกิดประโยชน์มากมาย แก่ราษฎรที่จะเข้ามาจับจองที่ดิน ประกอบการเกษตร ลำคลองนี้จะเป็นเส้นทางลำเลี่ยงสินค้าเข้าสู่ตัวเมืองหลวงได้สะดวกเป็นเส้นทางคมนาคมระหว่างกรุงเทพ กับจังหวัดราชบุรี การขุดคลองเริ่มต้นจากจุดริมแม่น้ำท่าจีน ตำบลบางยาง อำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร เป็นเส้นตรง ผ่านตำบลโคกไผ่ ( ปัจจุบันคือตำบลดอนไผ่) และขุดผ่านเข้ามาในเขตอำเภอปากคลองแพงพวย ( อำเภอดำเนินสะดวกเดิม) จนถึงแม่น้ำแม่กลองที่ปากคลองบางนกแขวก คลองนี้ได้ทำการขุดสำเร็จเมื่อ พ.ศ. 2410 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว(ร. 5) ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้กระทำพิธีเปิดใช้คลองเมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2411 อำเภอดำเนินสะดวก ตั้งอยู่ที่ปากคลองลัดราชบุรีถึง พ.ศ.2455 ทางราชการจึงได้ย้ายไปตั้งอยู่ที่ตำบลรางยาวฝั่งตะวันออก เหตุที่ย้ายที่ว่าการอำเภอ เนื่องจากสถานที่เดิมคับแคบไม่เหมาะแก่การขยายสถานที่ราชการอำเภอดำเนินสะดวก เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดราชบุรี อยู่ทางทิศตะวันตกของตัวจังหวัด ตั้งอยู่หมู่ที่ 1 ตำบลดำเนินสะดวกมีพื้นที่รวมทั้งสิ้น 198.97 ตารางกิโลเมตร
คำขวัญ
เมืองสองฝั่งคลองประวัติศาตร์ เสด็จประพาสต้น ร.5 เลื่องลือชาองุ่นหวาน ชาวบ้านน้ำใจงาม
ล้นหลามผักผลไม้ รายได้หลัก เรารักตลาดน้ำดำเนิน
อาณาเขต
ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอบางแพ จังหวัดราชบุรี และอำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี
ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอบางคนที และอำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม
ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอบางแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร
ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี อำเภอบางคนที จังหวัดสมุทรสงคราม
อำเภอโพธาราม
อำเภอโพธาราม
ประวัติอำเภอโพธาราม
ตำบลโพธาราม เล่ากันว่า เมื่อสมัยก่อนประชาชนเรียกว่า " บ้านโพธิ์ตาดำ " การที่ได้รับนามว่า "บ้านโพธิ์ตาดำ " เพราะมีต้นโพธิ์ขนาดใหญ่ขึ้นอยู่เป็นหมู่ และใกล้หมู่ต้นโพธิ์บ้านของนายดำ ซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีตั้งอยู่ด้วย เลยเรียกกันติดปากว่า " บ้านโพธิ์ตาดำ " โดยสำเนียงของชาวจีนมักเรียกถิ่นนี้ว่า " พอไจ่ล้ำ" และชาวมอญเรียกว่า " โพธาราม " ต่อมาเมื่อสมัยจังหวัดราชบุรียังมีฐานะ การปกครองแบบมณฑล พระภักดีดินแดน ( พลอย วงศาโรจน์) ปลัดมณฑลราชบุรี ได้ดำเนินการปรับปรุงเขตและนามตำบลโดยเห็นว่าถิ่นนี้ มีต้นโพธิ์ และมีวัด (อาราม)ทางราชการจึงตั้งนามว่า " ตำบลโพธาราม " โพธาราม เดิมตั้งอยู่ที่ปากคลองบางโตนด ตำบลบางโตนด ฝั่งตะวันตก แม่น้ำแม่กลอง เรียกชื่อว่า แขวง ขึ้นอยู่กับจังหวัดราชบุรี ยกฐานะเป็นอำเภอเมื่อใดไม่ปรากฎหลักฐาน ต่อมา พ.ศ. 2436 ได้ย้ายที่ว่าการอำเภอจากปากคลองบางโตนด มาตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำแม่กลองฟากตะวันออกเยื้องกับวัดเฉลิมอาสน์ ที่ตำบลโพธาราม ต่อมาได้ย้ายที่ว่าการอำเภอจากริมฝั่งแม่น้ำมาอยู่ที่บริเวณที่ตั้งปัจจุบัน เมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2495 ที่ตั้งของที่ว่าการอำเภอ ตั้งอยู่ถนนหน้าอำเภอ ตำบลโพธาราม ในเขตเทศบาลเมืองโพธาราม อยู่ห่างจากสถานีรถไฟโพธาราม ประมาณ 400 เมตร ห่างจากทางหลวงแผ่นดินสายเพชรเกษม (สายเก่า) ประมาณ 1.5 กิโลเมตร พื้นที่ มีเนื้อที่รวมทั้งสิ้น 394 ตารางกิโลเมตร
คำขวัญ
คนสวยโพธาราม แหล่งฟาร์มสุกรหนังใหญ่วัดขนอน ที่นอนล้ำเลิศถิ่นกำเนิดโคนม ชมค้างคาวร้อยล้าน
อาณาเขต
ทิศเหนือ
ติดต่อกับอำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี และอำเภอท่าม่วง จังหวัดกาญจนบุรี
ทิศใต้
ติดต่อกับอำเภอเมื่องราชบุรี และอำเภอดำเนินสะดวก
ทิศตะวันออก
ติดต่อกับอำเภอบางแพ จังหวัดราชบุรี และอำเภอเมืองนครปฐม
ทิศตะวันตก
ติดต่อกับอำเภอจอมบึง จังหวัดราชบุรี
ลักษณะภูมิประเทศ
ด้านทิศตะวันออกและตอนกลางของพื้นที่อำเภอ เป็นที่ราบลุ่ม พื้นที่ด้านทิศตะวันตกและตะวันตกเฉียงใต้ เป็นที่ราบ สูงมีภูเขาและเนินเขาอยู่ทั่วไปพื้นที่ที่เป็นเนินเขาประมาณ 6.60 ตารางกิโลเมตร มีป่าไม้เบญจพรรณอยู่บ้างประปรายลำน้ำทีสำคัญ มีแม่น้ำแม่กลองไหลผ่าน ต้นน้ำอยู่ในจังหวัดกาญจนบุรี ไหลผ่านท้องที่อำเภอโพธาราม ในตำบลชำแระ สร้อยฟ้า คลองตาคต โพธาราม ท่าชุมพล
บางโตนด คลองข่อย และเจ็ดเสมียน ผ่านอำเภอเมืองราชบุรี ลงสู่ทะเลที่จังหวัดสมุทรสงคราม
ประวัติอำเภอโพธาราม
ตำบลโพธาราม เล่ากันว่า เมื่อสมัยก่อนประชาชนเรียกว่า " บ้านโพธิ์ตาดำ " การที่ได้รับนามว่า "บ้านโพธิ์ตาดำ " เพราะมีต้นโพธิ์ขนาดใหญ่ขึ้นอยู่เป็นหมู่ และใกล้หมู่ต้นโพธิ์บ้านของนายดำ ซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีตั้งอยู่ด้วย เลยเรียกกันติดปากว่า " บ้านโพธิ์ตาดำ " โดยสำเนียงของชาวจีนมักเรียกถิ่นนี้ว่า " พอไจ่ล้ำ" และชาวมอญเรียกว่า " โพธาราม " ต่อมาเมื่อสมัยจังหวัดราชบุรียังมีฐานะ การปกครองแบบมณฑล พระภักดีดินแดน ( พลอย วงศาโรจน์) ปลัดมณฑลราชบุรี ได้ดำเนินการปรับปรุงเขตและนามตำบลโดยเห็นว่าถิ่นนี้ มีต้นโพธิ์ และมีวัด (อาราม)ทางราชการจึงตั้งนามว่า " ตำบลโพธาราม " โพธาราม เดิมตั้งอยู่ที่ปากคลองบางโตนด ตำบลบางโตนด ฝั่งตะวันตก แม่น้ำแม่กลอง เรียกชื่อว่า แขวง ขึ้นอยู่กับจังหวัดราชบุรี ยกฐานะเป็นอำเภอเมื่อใดไม่ปรากฎหลักฐาน ต่อมา พ.ศ. 2436 ได้ย้ายที่ว่าการอำเภอจากปากคลองบางโตนด มาตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำแม่กลองฟากตะวันออกเยื้องกับวัดเฉลิมอาสน์ ที่ตำบลโพธาราม ต่อมาได้ย้ายที่ว่าการอำเภอจากริมฝั่งแม่น้ำมาอยู่ที่บริเวณที่ตั้งปัจจุบัน เมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2495 ที่ตั้งของที่ว่าการอำเภอ ตั้งอยู่ถนนหน้าอำเภอ ตำบลโพธาราม ในเขตเทศบาลเมืองโพธาราม อยู่ห่างจากสถานีรถไฟโพธาราม ประมาณ 400 เมตร ห่างจากทางหลวงแผ่นดินสายเพชรเกษม (สายเก่า) ประมาณ 1.5 กิโลเมตร พื้นที่ มีเนื้อที่รวมทั้งสิ้น 394 ตารางกิโลเมตร
คำขวัญ
คนสวยโพธาราม แหล่งฟาร์มสุกรหนังใหญ่วัดขนอน ที่นอนล้ำเลิศถิ่นกำเนิดโคนม ชมค้างคาวร้อยล้าน
อาณาเขต
ทิศเหนือ
ติดต่อกับอำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี และอำเภอท่าม่วง จังหวัดกาญจนบุรี
ทิศใต้
ติดต่อกับอำเภอเมื่องราชบุรี และอำเภอดำเนินสะดวก
ทิศตะวันออก
ติดต่อกับอำเภอบางแพ จังหวัดราชบุรี และอำเภอเมืองนครปฐม
ทิศตะวันตก
ติดต่อกับอำเภอจอมบึง จังหวัดราชบุรี
ลักษณะภูมิประเทศ
ด้านทิศตะวันออกและตอนกลางของพื้นที่อำเภอ เป็นที่ราบลุ่ม พื้นที่ด้านทิศตะวันตกและตะวันตกเฉียงใต้ เป็นที่ราบ สูงมีภูเขาและเนินเขาอยู่ทั่วไปพื้นที่ที่เป็นเนินเขาประมาณ 6.60 ตารางกิโลเมตร มีป่าไม้เบญจพรรณอยู่บ้างประปรายลำน้ำทีสำคัญ มีแม่น้ำแม่กลองไหลผ่าน ต้นน้ำอยู่ในจังหวัดกาญจนบุรี ไหลผ่านท้องที่อำเภอโพธาราม ในตำบลชำแระ สร้อยฟ้า คลองตาคต โพธาราม ท่าชุมพล
บางโตนด คลองข่อย และเจ็ดเสมียน ผ่านอำเภอเมืองราชบุรี ลงสู่ทะเลที่จังหวัดสมุทรสงคราม
อำเภอบ้านโป่ง
อำเภอบ้านโป่ง
ประวัติอำเภอบ้านโป่ง
ตามจดหมายเหตุราชบุรี อำเภอบ้านโป่ง เดิมตั้งอยู่ที่ ตำบลท่าผา เรียกว่าอำเภอท่าผา ต่อมารัฐบาลได้สร้างทางรถไฟสายใต้ขึ้นและเห็นว่าถ้าหาก อำเภออยู่ที่ท่าผาแล้วการคมนาคมก็ไม่สู้สะดวก จึงให้ย้ายที่ว่าการอำเภอมาตั้งที่ตำบลบ้านโป่งเรียกว่า อำเภอบ้านโป่งสืบมาจนกระทั่งทุกวันนี้ บริเวณที่ตั้งอำเภอบ้านโป่งนี้ เดิมเป็นป่าโปร่งสัตว์ชอบมาอาศัย และกินดินโป่งเป็นอาหาร(ดินโป่งเป็นดินชนิดหนึ่งที่มีรสเค็ม) โดยเฉพาะสัตว์จำพวกเลียงผาชอบมาก ตามตำนานเก่าแก่เล่าว่าคำ " บ้านโป่ง" เดิมทีเดียวเรียกว่า " บ้านทับโป่ง " ซึ่งเล่ากันว่ามีกระท่อมหรือบ้าน (ทับ) อยู่ข้างดินโป่ง แต่ชาวบ้านนิยมเรียก "บ้านโป่ง" เพราะสะดวกและสั้นดีและต่อมาทางราชการก็ได้เปลี่ยนชื่อเป็นอำเภอบ้านโป่งตามไปด้วยอำเภอบ้านโป่ง เคยโอนไปอยู่กับจังหวัดกาญจนบุรีมาครั้งหนึ่งระหว่างสงครามมหาอาเซียบูรพา เมื่อ พ.ศ. 2484 และโอนกลับมาจังหวัดราชบุรีตามเดิม เมื่อพ.ศ. 2489ที่ตั้งของที่ว่าการอำเภอบ้านโป่ง ตั้งอยู่ที่ถนนทรงพล ตำบลบ้านโป่ง (ในเขตเทศบาลเมืองบ้านโป่ง) มีระยะทางห่างจากจังหวัด 42 กิโลเมตร มีทางหลวงแผ่นดินผ่าน 2 สาย ชื่อ ทางหลวงแผ่นดินสาย 4 ( เพชรเกษม) และมีทางรถไฟผ่าน 3 สาย คือ ทางรถไฟสายใต้ ทางรถไฟสายหนองปลาดุก - สุพรรณบุรี และทางรถไฟสายนองปลาดุก - กาญจนบุรี แม่น้ำสำคัญผ่าน 1 สาย ชื่อ แม่น้ำแม่กลองพื้นที่ 390 ตารางกิโลเมตร
คำขวัญ
เมืองคนงาม สระน้ำศักดิ์สิทธิ์ พิพิธภัณฑ์พื้นบ้าน ย่านการค้าอุตสาหกรรม
ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอท่าม่วง อำเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม
ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี
ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม
ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี อำเภอท่าม่วง จังหวัดกาญจนบุรี
ลักษณะภูมิประเทศ
เป็นที่ราบลุ่มโดยทั่วไปเป็นที่ทำนา ทำสวน ทำไร่ มีป่าและภูเขาในตำบลเขาขลุง ลำน้ำที่สำคัญ ลำน้ำที่เป็นประโยชน์ในด้านการเกษตร การคมนาคม
และการบริโภค คือ แม่น้ำแม่กลอง เริ่มต้นจากแควใหญ่แควน้อย มาบรรจบกันที่ตัวจังหวัดกาญจนบุรี ไหลผ่านท้องที่อำเภอบ้านโป่งที่ตำบลลาดบัวขาว ตำบลท่าผา
ตำบลเบิกไพร ตำบลบ้านโป่ง ตำบลปากแรต ตำบลคุ้งพยอม ตำบลสวนกล้วย ตำบลนครชุมน์ และตำบลบ้านม่วง มีระยะประมาณ 20 กิโลเมตร
ประวัติอำเภอบ้านโป่ง
ตามจดหมายเหตุราชบุรี อำเภอบ้านโป่ง เดิมตั้งอยู่ที่ ตำบลท่าผา เรียกว่าอำเภอท่าผา ต่อมารัฐบาลได้สร้างทางรถไฟสายใต้ขึ้นและเห็นว่าถ้าหาก อำเภออยู่ที่ท่าผาแล้วการคมนาคมก็ไม่สู้สะดวก จึงให้ย้ายที่ว่าการอำเภอมาตั้งที่ตำบลบ้านโป่งเรียกว่า อำเภอบ้านโป่งสืบมาจนกระทั่งทุกวันนี้ บริเวณที่ตั้งอำเภอบ้านโป่งนี้ เดิมเป็นป่าโปร่งสัตว์ชอบมาอาศัย และกินดินโป่งเป็นอาหาร(ดินโป่งเป็นดินชนิดหนึ่งที่มีรสเค็ม) โดยเฉพาะสัตว์จำพวกเลียงผาชอบมาก ตามตำนานเก่าแก่เล่าว่าคำ " บ้านโป่ง" เดิมทีเดียวเรียกว่า " บ้านทับโป่ง " ซึ่งเล่ากันว่ามีกระท่อมหรือบ้าน (ทับ) อยู่ข้างดินโป่ง แต่ชาวบ้านนิยมเรียก "บ้านโป่ง" เพราะสะดวกและสั้นดีและต่อมาทางราชการก็ได้เปลี่ยนชื่อเป็นอำเภอบ้านโป่งตามไปด้วยอำเภอบ้านโป่ง เคยโอนไปอยู่กับจังหวัดกาญจนบุรีมาครั้งหนึ่งระหว่างสงครามมหาอาเซียบูรพา เมื่อ พ.ศ. 2484 และโอนกลับมาจังหวัดราชบุรีตามเดิม เมื่อพ.ศ. 2489ที่ตั้งของที่ว่าการอำเภอบ้านโป่ง ตั้งอยู่ที่ถนนทรงพล ตำบลบ้านโป่ง (ในเขตเทศบาลเมืองบ้านโป่ง) มีระยะทางห่างจากจังหวัด 42 กิโลเมตร มีทางหลวงแผ่นดินผ่าน 2 สาย ชื่อ ทางหลวงแผ่นดินสาย 4 ( เพชรเกษม) และมีทางรถไฟผ่าน 3 สาย คือ ทางรถไฟสายใต้ ทางรถไฟสายหนองปลาดุก - สุพรรณบุรี และทางรถไฟสายนองปลาดุก - กาญจนบุรี แม่น้ำสำคัญผ่าน 1 สาย ชื่อ แม่น้ำแม่กลองพื้นที่ 390 ตารางกิโลเมตร
คำขวัญ
เมืองคนงาม สระน้ำศักดิ์สิทธิ์ พิพิธภัณฑ์พื้นบ้าน ย่านการค้าอุตสาหกรรม
ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอท่าม่วง อำเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม
ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี
ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม
ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี อำเภอท่าม่วง จังหวัดกาญจนบุรี
ลักษณะภูมิประเทศ
เป็นที่ราบลุ่มโดยทั่วไปเป็นที่ทำนา ทำสวน ทำไร่ มีป่าและภูเขาในตำบลเขาขลุง ลำน้ำที่สำคัญ ลำน้ำที่เป็นประโยชน์ในด้านการเกษตร การคมนาคม
และการบริโภค คือ แม่น้ำแม่กลอง เริ่มต้นจากแควใหญ่แควน้อย มาบรรจบกันที่ตัวจังหวัดกาญจนบุรี ไหลผ่านท้องที่อำเภอบ้านโป่งที่ตำบลลาดบัวขาว ตำบลท่าผา
ตำบลเบิกไพร ตำบลบ้านโป่ง ตำบลปากแรต ตำบลคุ้งพยอม ตำบลสวนกล้วย ตำบลนครชุมน์ และตำบลบ้านม่วง มีระยะประมาณ 20 กิโลเมตร
อำเภอบางแพ
อำเภอบางแพ
ประวัติอำเภอบางแพ
ที่ได้ชื่อว่า " บางแพ " ได้ความว่า เมื่อสมัยก่อนท้องที่อำเภอนี้เป็นที่ลุ่มจดชายทะเลเต็มไปด้วยป่าพง ป่ากก มีผู้คนอาศัยน้อย ถึงฤดูน้ำจะมีผู้คนพากันขึ้นไปตัดไม้ทางป่า ผูกเป็นแพล่องลงมาตามลำน้ำไป ขายทางชายทะเล การเดินทางจะต้องนำแพไม้มาจอดพัก ค้างแรมที่บ้านบางแพนี้
เมื่อมีผู้คนมาตั้งบ้านเรือนอยู่อาศัยน้อย จึงพากันเรียกที่แห่งนี้ว่า " บางแพ "
เมื่อได้ตั้งที่ว่าการอำเภอขึ้นที่ตำบลบางแพจึงได้ชื่อว่า "อำเภอบางแพ" ตามสถานที่ตั้ง อำเภอบางแพตั้งขึ้นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2457 โดยแบ่งตำบลต่างๆ ของ อำเภอบ้านโป่ง อำเภอโพธาราม และอำเภอดำเนินสะดวก รวม 17 ตำบล จัดเป็นตำบลขึ้นใหม่แล้วยกฐานะเป็นอำเภอ
ในปี พ.ศ. 2460 ได้ย้ายที่ว่าการอำเภอมาอยู่ที่บริเวณวัดหัวโพ ตำบลหัวโพ อาศัยศาลาการเปรียญซึ่งเป็น ศาลาดิน เป็นที่ตั้งที่ว่าการอำเภอชั่วคราวละได้เปลี่ยนเป็น " อำเภอหัวโพ "ครั้นในปี พ.ศ. 2461 ได้ย้ายที่ว่าการอำเภอจากตำบลหัวโพมาตั้งที่บ้านหมู่ที่ 5 ตำบลบางแพ อยู่ฝั่งตะวันออกของลำคลองบางแพ ณ ที่ดังกล่าวได้เปลี่ยนชื่ออำเภอเป็น" อำเภอบางแพ"
คำขวัญ
เป็ดพะโล้ระบือนาม กุ้งก้ามกรามชื่อนิยม อีกโคนมพันธุ์ดี ประเพณีไทยทรงดำ แหล่งเพาะชำไม้ดอก สินค้าออกเห็ดนานาพันธุ์
อาณาเขต
ทิศเหนือ ติดต่อกับตำบลสระกระเที่ยม ตำบลบางแขม อำเภอเมืองนครปฐม
ทิศใต้ ติดต่อกับตำบลบ้านไร่ ตำบลบัวงาม อำเภอดำเนินสะดวก
ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม
และอำเภอเมืองบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร
ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี
ลักษณะภูมิประเทศ
เป็นที่ราบลุ่มทั่วไป ไม่มีป่าและเขา สภาพทั่วไปอากาศโปร่งเย็น มีความชุ่มชื่นพอสมควร ลำนำสำคัญที่เป็นประโยชน์ในด้านการเกษตร คือ ลำคลองบางแพ เริ่มต้นจาก ตำบลคลองตาคต อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี ผ่านอำเภอบางแพ ในท้องที่ตำบลวังเย็น และในท้องที่ตำบลบางแพเนื่องจากอำเภอ นี้เป็นที่ราบลุ่ม ทรัพยากรธรรมชาติจึงมีปลาและสัตว์น้ำตามแม่น้ำลำคลองพื้นที่ มีเนื้อที่รวมทั้งสิ้น 182 ตารางกิโลเมตร
ประวัติอำเภอบางแพ
ที่ได้ชื่อว่า " บางแพ " ได้ความว่า เมื่อสมัยก่อนท้องที่อำเภอนี้เป็นที่ลุ่มจดชายทะเลเต็มไปด้วยป่าพง ป่ากก มีผู้คนอาศัยน้อย ถึงฤดูน้ำจะมีผู้คนพากันขึ้นไปตัดไม้ทางป่า ผูกเป็นแพล่องลงมาตามลำน้ำไป ขายทางชายทะเล การเดินทางจะต้องนำแพไม้มาจอดพัก ค้างแรมที่บ้านบางแพนี้
เมื่อมีผู้คนมาตั้งบ้านเรือนอยู่อาศัยน้อย จึงพากันเรียกที่แห่งนี้ว่า " บางแพ "
เมื่อได้ตั้งที่ว่าการอำเภอขึ้นที่ตำบลบางแพจึงได้ชื่อว่า "อำเภอบางแพ" ตามสถานที่ตั้ง อำเภอบางแพตั้งขึ้นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2457 โดยแบ่งตำบลต่างๆ ของ อำเภอบ้านโป่ง อำเภอโพธาราม และอำเภอดำเนินสะดวก รวม 17 ตำบล จัดเป็นตำบลขึ้นใหม่แล้วยกฐานะเป็นอำเภอ
ในปี พ.ศ. 2460 ได้ย้ายที่ว่าการอำเภอมาอยู่ที่บริเวณวัดหัวโพ ตำบลหัวโพ อาศัยศาลาการเปรียญซึ่งเป็น ศาลาดิน เป็นที่ตั้งที่ว่าการอำเภอชั่วคราวละได้เปลี่ยนเป็น " อำเภอหัวโพ "ครั้นในปี พ.ศ. 2461 ได้ย้ายที่ว่าการอำเภอจากตำบลหัวโพมาตั้งที่บ้านหมู่ที่ 5 ตำบลบางแพ อยู่ฝั่งตะวันออกของลำคลองบางแพ ณ ที่ดังกล่าวได้เปลี่ยนชื่ออำเภอเป็น" อำเภอบางแพ"
คำขวัญ
เป็ดพะโล้ระบือนาม กุ้งก้ามกรามชื่อนิยม อีกโคนมพันธุ์ดี ประเพณีไทยทรงดำ แหล่งเพาะชำไม้ดอก สินค้าออกเห็ดนานาพันธุ์
อาณาเขต
ทิศเหนือ ติดต่อกับตำบลสระกระเที่ยม ตำบลบางแขม อำเภอเมืองนครปฐม
ทิศใต้ ติดต่อกับตำบลบ้านไร่ ตำบลบัวงาม อำเภอดำเนินสะดวก
ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม
และอำเภอเมืองบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร
ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี
ลักษณะภูมิประเทศ
เป็นที่ราบลุ่มทั่วไป ไม่มีป่าและเขา สภาพทั่วไปอากาศโปร่งเย็น มีความชุ่มชื่นพอสมควร ลำนำสำคัญที่เป็นประโยชน์ในด้านการเกษตร คือ ลำคลองบางแพ เริ่มต้นจาก ตำบลคลองตาคต อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี ผ่านอำเภอบางแพ ในท้องที่ตำบลวังเย็น และในท้องที่ตำบลบางแพเนื่องจากอำเภอ นี้เป็นที่ราบลุ่ม ทรัพยากรธรรมชาติจึงมีปลาและสัตว์น้ำตามแม่น้ำลำคลองพื้นที่ มีเนื้อที่รวมทั้งสิ้น 182 ตารางกิโลเมตร
อำเภอปากท่อ
อำเภอปากท่อ
ประวัติอำเภอปากท่อ
ประวัติมีว่า พื้นที่ทั่วๆ ไปของอำเภอนี้ราบส่วนมาก และมีพื้นที่แห่งหนึ่งเป็นที่ต่ำกว่าที่อื่น พื้นที่แห่งนั้นเรียกว่า " หนองทะเล" ในฤดูฝนน้ำฝนจากตำบลต่างๆ จะไหลมารวมกันที่หนองทะเลเพียงแห่งเดียว และทางทิศตะวันออกของหนองทะเลเป็นที่ต่ำกว่าทุกทิศน้ำที่ไหลมารวมกันอยู่นั้น จะไหลไปทางไหนไม่ได้ มีช่องทางน้ำไหลได้เพียงทางเดียวเวลาน้ำไหลออกจากหนอง ทะเลจะเชี่ยวมาก คล้ายน้ำไหลออกจากท่อเลยทำให้ราษฎรขนานนามพื้นที่หนองทะเลใหม่ว่า " ปากท่อ" ซึ่งเป็นตำบลและที่ตั้งที่ว่าการอำเภออยู่มาจนถึงปัจจุบันตำบลปากท่อ เดิมขึ้นอยู่กับอำเภอเมืองราชบุรี ต่อมาเมื่อ ร.ศ. 118 ได้ตั้งที่ว่าการอำเภอขึ้นแห่งหนึ่ง คือ ที่ว่าการอำเภอท่านัด-วัดประดู่ ซึ่งตั้งอยู่ที่ตำบลจอมประทัด ตำบลปากท่อจึงได้โอนไปขึ้นกับอำเภอท่านัดวัดประดู่ แต่การไปมาติดต่อของราษฎรไม่สะดวก เพราะที่ว่าการอำเภอดังกล่าว ตั้งอยู่ริมคลอง ไม่มีถนน จึงได้ย้ายที่ว่าการอำเภอไปตั้งที่ตำบลวัดเพลง เรียกว่า ที่ว่าการอำเภอแม่น้ำอ้อมจนเมื่อง พ.ศ. 2460 ได้ย้ายที่ว่าการอำเภอแม่น้ำอ้อม มาตั้งที่ตำบลปากท่อ
คำขวัญ
เพลงเขมรปากท่อ เหล่ากอไทยทรงดำ วัฒนธรรมกะเหรี่ยง เสียงน้ำตกไทยประจัน แหล่งพันธุ์ไม้ผล ถิ่นคนน้ำใจงาม มากฟาร์มสุกร พระนอนเขาถ้ำทะลุ
อาณาเขต
ทิศเหนือ
ติดต่อกับอำเภอเมืองราชบุรี จังหวัดราชบุรี และอำเภอวัดเพลง จังหวัดราชบุรี
ทิศใต้
ติดต่อกับอำเภอเขาย้อย จังหวัดเพชรบุรี
ทิศตะวันออก
ติดต่อกับอำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม
ทิศตะวันตก
ติดต่อกับอำเภอสวนผึ้ง อำเภอจอมบึง จังหวัดราชบุรี
ลักษณะภูมิประเทศ
ที่ราบลุ่ม ได้แก่พื้นที่ตำบลวัดยางงาม ตำบลวันดาว มีพื้นที่อุดมสมบูรณ์ เหมาะแก่การเพาะปลูก มีลำคลองเชื่อมหลายสาย เช่นคลองวัดประดู่ คลองปากท่อ
ที่ราบตอนกลาง ได้แก่พื้นที่ตำบลบ่อกระดาน ตำบลป่าไก่ ตำบลปากท่อ พื้นที่เป็นนาอาศัยน้ำฝน และจากคลองพระราชทานที่ขุดขนานกับทางรถไฟสายใต้ และคลอง
แสวงจันทร์รำลึก
ที่ราบสูง ได้แก่ตำบลหนองกระทุ่ม ตำบลดอนทราย ตำบลวังมะนาว ตำบลทุ่งหลวง ตำบลอ่างหิน ซึ่งบางแห่งเป็นที่ราบ บางแห่งเป็นเขามีการทำนา ทำไร่ตามสภาพที่ป่าและเขา ได้แก่ตำบลยางหัก ที่ส่วนใหญ่เป็นป่าและเขามีที่ราบน้อยมากประชาชนที่อาศัยอยู่ในตำบลนี้ ส่วนใหญ่ เป็นชาวเขาเผ่ากะเหรี่ยง และมีราษฎรจากท้องถิ่นอื่นเข้าไปหักร้างถางป่า จับจองที่ทำกินอยู่มาก
ประวัติอำเภอปากท่อ
ประวัติมีว่า พื้นที่ทั่วๆ ไปของอำเภอนี้ราบส่วนมาก และมีพื้นที่แห่งหนึ่งเป็นที่ต่ำกว่าที่อื่น พื้นที่แห่งนั้นเรียกว่า " หนองทะเล" ในฤดูฝนน้ำฝนจากตำบลต่างๆ จะไหลมารวมกันที่หนองทะเลเพียงแห่งเดียว และทางทิศตะวันออกของหนองทะเลเป็นที่ต่ำกว่าทุกทิศน้ำที่ไหลมารวมกันอยู่นั้น จะไหลไปทางไหนไม่ได้ มีช่องทางน้ำไหลได้เพียงทางเดียวเวลาน้ำไหลออกจากหนอง ทะเลจะเชี่ยวมาก คล้ายน้ำไหลออกจากท่อเลยทำให้ราษฎรขนานนามพื้นที่หนองทะเลใหม่ว่า " ปากท่อ" ซึ่งเป็นตำบลและที่ตั้งที่ว่าการอำเภออยู่มาจนถึงปัจจุบันตำบลปากท่อ เดิมขึ้นอยู่กับอำเภอเมืองราชบุรี ต่อมาเมื่อ ร.ศ. 118 ได้ตั้งที่ว่าการอำเภอขึ้นแห่งหนึ่ง คือ ที่ว่าการอำเภอท่านัด-วัดประดู่ ซึ่งตั้งอยู่ที่ตำบลจอมประทัด ตำบลปากท่อจึงได้โอนไปขึ้นกับอำเภอท่านัดวัดประดู่ แต่การไปมาติดต่อของราษฎรไม่สะดวก เพราะที่ว่าการอำเภอดังกล่าว ตั้งอยู่ริมคลอง ไม่มีถนน จึงได้ย้ายที่ว่าการอำเภอไปตั้งที่ตำบลวัดเพลง เรียกว่า ที่ว่าการอำเภอแม่น้ำอ้อมจนเมื่อง พ.ศ. 2460 ได้ย้ายที่ว่าการอำเภอแม่น้ำอ้อม มาตั้งที่ตำบลปากท่อ
คำขวัญ
เพลงเขมรปากท่อ เหล่ากอไทยทรงดำ วัฒนธรรมกะเหรี่ยง เสียงน้ำตกไทยประจัน แหล่งพันธุ์ไม้ผล ถิ่นคนน้ำใจงาม มากฟาร์มสุกร พระนอนเขาถ้ำทะลุ
อาณาเขต
ทิศเหนือ
ติดต่อกับอำเภอเมืองราชบุรี จังหวัดราชบุรี และอำเภอวัดเพลง จังหวัดราชบุรี
ทิศใต้
ติดต่อกับอำเภอเขาย้อย จังหวัดเพชรบุรี
ทิศตะวันออก
ติดต่อกับอำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม
ทิศตะวันตก
ติดต่อกับอำเภอสวนผึ้ง อำเภอจอมบึง จังหวัดราชบุรี
ลักษณะภูมิประเทศ
ที่ราบลุ่ม ได้แก่พื้นที่ตำบลวัดยางงาม ตำบลวันดาว มีพื้นที่อุดมสมบูรณ์ เหมาะแก่การเพาะปลูก มีลำคลองเชื่อมหลายสาย เช่นคลองวัดประดู่ คลองปากท่อ
ที่ราบตอนกลาง ได้แก่พื้นที่ตำบลบ่อกระดาน ตำบลป่าไก่ ตำบลปากท่อ พื้นที่เป็นนาอาศัยน้ำฝน และจากคลองพระราชทานที่ขุดขนานกับทางรถไฟสายใต้ และคลอง
แสวงจันทร์รำลึก
ที่ราบสูง ได้แก่ตำบลหนองกระทุ่ม ตำบลดอนทราย ตำบลวังมะนาว ตำบลทุ่งหลวง ตำบลอ่างหิน ซึ่งบางแห่งเป็นที่ราบ บางแห่งเป็นเขามีการทำนา ทำไร่ตามสภาพที่ป่าและเขา ได้แก่ตำบลยางหัก ที่ส่วนใหญ่เป็นป่าและเขามีที่ราบน้อยมากประชาชนที่อาศัยอยู่ในตำบลนี้ ส่วนใหญ่ เป็นชาวเขาเผ่ากะเหรี่ยง และมีราษฎรจากท้องถิ่นอื่นเข้าไปหักร้างถางป่า จับจองที่ทำกินอยู่มาก
อำเภอจอมบึง
อำเภอจอมบึง
ประวัติอำเภอจอมบึง
ท้องที่จอมบึงมีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ตั้งแต่สมัยอยุธยาแล้วเป็นเส้นทางผ่านเวลาทัพพม่าจะยกมาตีไทย
พ.ศ. 2438 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสด็จประพาสจอมบึงกับสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชนีนาถ พระพุทธเจ้าหลวงได้เสด็จไปชมบึงใหญ่ โดย
เสด็จไปทางสายเก่าบ้านวังมะเดื่อ เจ้าหน้าที่ได้เปิดป่าพงหญ้าเป็นถนนไปสู่บึง พระองค์ทรงโปรดปรานในความงามของบึงมากทรงพระดำรัสช้าๆ ว่า
"นี้หรือบึง สวยงามดี ต่อไปจะเจริญต่อไปนี้ให้เรียกว่า จอมบึง" ชาวบ้านจึงเรียกบึงใหญ่ว่าจอมบึงมาจนทุกวันนี้
การเสด็จประพาสจอมบึงครั้งนี้ พระพุทธเจ้าหลวงทรงมีพระราชดำริว่าท้องที่จอมบึงเป็นที่ราบ ประชาชนตั้งบ้านเรือนอยู่หนาแน่นแต่กันดาร จึงทรงพระกรุณาโปรด
เกล้าฯ ให้ตั้งขึ้นเป็นกิ่งอำเภอจอมบึง พ.ศ. 2501 กระทรวงมหาดไทยได้ประกาศยกฐานะกิ่งอำเภอจบึงเป็นอำเภอจอมบึง
อำเภอจอมบึงเป็นอำเภอหนึ่งในจำนวน 9 อำเภอของจังหวัดราชบุรี อยู่ห่างจากตัวจังหวัดไปทางทิศตะวันตกเป็นระยะทาง 30 กิโลเมตร โดยทางหลวงแผ่นดิน
สายราชบุรี - จอมบึง
อำเภอจอมบึงมีพื้นที่มากเป็นอันดับสองของจังหวัด คือ มีพื้นที่ทั้งสิ้น 816 ตารางกิโลเมตร
คำขวัญ
ถิ่นคนดี มีอริยธรรมการศึกษาราชภัฏนำ งานล้ำถ้ำจอมพล
อาณาเขต
ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี อำเภอท่าม่วงและอำเภอเมืองกาญจนบุรี จังหวัดกาญจนบุรี
ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอปากท่อ จังหวัดราชบุรี
ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอเมืองราชบุรี จังหวัดราชบุรี
ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี
ลักษณะภูมิประเทศ
ที่ราบลุ่มทุ่งนาและหนองน้ำ พบอยู่ทางด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือของตำบลปากช่อง ใจกลางของตำบลจอมบึง ตอนใต้ของตำบลเพิกไพร ตอนเหนือ
ของตำบลรางบัวและทางตอนกลางด้านทิศตะวันออกของตำบลด่านทับตะโก พื้นที่เหล่านี้ส่วนใหญ่ใช้ปลูกข้าว
พื้นที่เป็นที่ดินทรายและดินลูกรัง พบในด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือและทิศตะวันตกของตำบลปากช่อง ด้านเหนือและด้านตะวันออกของตำบลจอมบึง
ตามแนวกลางจากด้านทิศตะวันออกโค้งไปถึงด้านตะวันตกของตำบลรางบัว พื้นที่เหล่านี้ส่วนใหญ่จะใช้ปลูกมันสำปะหลัง
พื้นที่ดินร่วนปนทรายและดินดำ พบในด้านทิศใต้ของตำบลปากช่อง สองฝั่งลำน้ำภาชีในตำบลด่านทับตะโกและตำบลแก้มอ้น พื้นที่เหล่านี้ส่วนใหญ่ใช้ปลูกอ้อย พืชไร่ และ
พืชผักสวนครัว โดยเฉพาะตำบลด่านทับตะโกและตำบลแก้มอ้น จะปลูกพืชผักสวนครัวและพืชไร่มากที่สุดในอำเภอ
พื่นที่ภูเขา พบมากในตอนใต้ของตำบลรางบัว ด้านทิศตะวันตกของตำบลด่านทับตะโกและตำบลแก้มอ้น ตามแนวเส้นแบ่งเขตตำบลและอำเภอ และยังพบภูเขาขนาดเล็ก
อยู่ในทุกพื้นที่ของตำบลอื่นๆ ด้วย พื้นที่เหล่านี้ส่วนใหญ่จะเป็นป่าไม้
ประวัติอำเภอจอมบึง
ท้องที่จอมบึงมีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ตั้งแต่สมัยอยุธยาแล้วเป็นเส้นทางผ่านเวลาทัพพม่าจะยกมาตีไทย
พ.ศ. 2438 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสด็จประพาสจอมบึงกับสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชนีนาถ พระพุทธเจ้าหลวงได้เสด็จไปชมบึงใหญ่ โดย
เสด็จไปทางสายเก่าบ้านวังมะเดื่อ เจ้าหน้าที่ได้เปิดป่าพงหญ้าเป็นถนนไปสู่บึง พระองค์ทรงโปรดปรานในความงามของบึงมากทรงพระดำรัสช้าๆ ว่า
"นี้หรือบึง สวยงามดี ต่อไปจะเจริญต่อไปนี้ให้เรียกว่า จอมบึง" ชาวบ้านจึงเรียกบึงใหญ่ว่าจอมบึงมาจนทุกวันนี้
การเสด็จประพาสจอมบึงครั้งนี้ พระพุทธเจ้าหลวงทรงมีพระราชดำริว่าท้องที่จอมบึงเป็นที่ราบ ประชาชนตั้งบ้านเรือนอยู่หนาแน่นแต่กันดาร จึงทรงพระกรุณาโปรด
เกล้าฯ ให้ตั้งขึ้นเป็นกิ่งอำเภอจอมบึง พ.ศ. 2501 กระทรวงมหาดไทยได้ประกาศยกฐานะกิ่งอำเภอจบึงเป็นอำเภอจอมบึง
อำเภอจอมบึงเป็นอำเภอหนึ่งในจำนวน 9 อำเภอของจังหวัดราชบุรี อยู่ห่างจากตัวจังหวัดไปทางทิศตะวันตกเป็นระยะทาง 30 กิโลเมตร โดยทางหลวงแผ่นดิน
สายราชบุรี - จอมบึง
อำเภอจอมบึงมีพื้นที่มากเป็นอันดับสองของจังหวัด คือ มีพื้นที่ทั้งสิ้น 816 ตารางกิโลเมตร
คำขวัญ
ถิ่นคนดี มีอริยธรรมการศึกษาราชภัฏนำ งานล้ำถ้ำจอมพล
อาณาเขต
ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี อำเภอท่าม่วงและอำเภอเมืองกาญจนบุรี จังหวัดกาญจนบุรี
ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอปากท่อ จังหวัดราชบุรี
ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอเมืองราชบุรี จังหวัดราชบุรี
ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี
ลักษณะภูมิประเทศ
ที่ราบลุ่มทุ่งนาและหนองน้ำ พบอยู่ทางด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือของตำบลปากช่อง ใจกลางของตำบลจอมบึง ตอนใต้ของตำบลเพิกไพร ตอนเหนือ
ของตำบลรางบัวและทางตอนกลางด้านทิศตะวันออกของตำบลด่านทับตะโก พื้นที่เหล่านี้ส่วนใหญ่ใช้ปลูกข้าว
พื้นที่เป็นที่ดินทรายและดินลูกรัง พบในด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือและทิศตะวันตกของตำบลปากช่อง ด้านเหนือและด้านตะวันออกของตำบลจอมบึง
ตามแนวกลางจากด้านทิศตะวันออกโค้งไปถึงด้านตะวันตกของตำบลรางบัว พื้นที่เหล่านี้ส่วนใหญ่จะใช้ปลูกมันสำปะหลัง
พื้นที่ดินร่วนปนทรายและดินดำ พบในด้านทิศใต้ของตำบลปากช่อง สองฝั่งลำน้ำภาชีในตำบลด่านทับตะโกและตำบลแก้มอ้น พื้นที่เหล่านี้ส่วนใหญ่ใช้ปลูกอ้อย พืชไร่ และ
พืชผักสวนครัว โดยเฉพาะตำบลด่านทับตะโกและตำบลแก้มอ้น จะปลูกพืชผักสวนครัวและพืชไร่มากที่สุดในอำเภอ
พื่นที่ภูเขา พบมากในตอนใต้ของตำบลรางบัว ด้านทิศตะวันตกของตำบลด่านทับตะโกและตำบลแก้มอ้น ตามแนวเส้นแบ่งเขตตำบลและอำเภอ และยังพบภูเขาขนาดเล็ก
อยู่ในทุกพื้นที่ของตำบลอื่นๆ ด้วย พื้นที่เหล่านี้ส่วนใหญ่จะเป็นป่าไม้
อำเภอสวนผึ้ง
อำเภอสวนผึ้ง
ประวัติอำเภอสวนผึ้ง
อำเภอสวนผึ้งเดิมเป็นตำบลสวนผึ้งขึ้นอยู่กับอำเภอจอมบึง จังหวัดราชบุรี ได้อนุมัติให้ตั้งกิ่งอำเภอสวนผึ้งขึ้นเมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2517 เปิดทำการบริการประชาชน เมื่อวันที่ 15 พฤศิกายน 2517 มีเขตการปกครอง 5 ตำบล คือ ตำบลสวนผึ้ง ตำบลป่าหวาย ตำบลบ้านบึง ตำบลท่าเคย และตำบลบ้านคา สภาพท้องถิ่นทุรกันดาร ภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นป่าไม้ มีภูเขาสลับซับซ้อนอยู่ทั่วไป ระยะทางจกาอำเภอจอมบึง 30 ก.ม. ห่างจากตัวจังหวัดราชบุรี 60 กิโลเมตร และได้ประกาศตั้งเป็นอำเภอเมื่อวันที่ 1 เมษายน 2525อำเภอสวนผึ้ง ตั้งอยู่หมู่ที่ 1 ตำบลสวนผึ้ง ริมฝั่งซ้ายของลำน้ำภาชีอยู่ทางด้านทิศตะวันตกของอำเภอจอมบึงและจังหวัดราชบุรีมีพื้นที่รวมทั้งสิ้น 2,145 ตารางกิโลเมตร
คำขวัญ
สาวกะเหรี่ยงเคียงถิ่นตะนาวศรี ลำภาชีแก่งส้มแมวแนวหินผา ธารน้ำร้อนบ่อคลึงตรึงติดตา น้ำผึ้งป่าหวานซึ้งติดตรึงใจ
อาณาเขต
ทิศเหนือ
ติดต่ออำเภอเมืองกาญจนบุรี
ทิศใต้
ติดต่อกับอำเภอเขาย้อย จังหวัดเพชรบุรี
ทิศตะวันออก
ติดต่อกับอำเภอจอมบึง จังหวัดราชบุรี
ทิศตะวันตก
ติดต่อกับสาธารณรัฐสังคมนิยมแห่งสหภาพพม่า
ลักษณะภูมิประเทศ
อำเภอสวนผึ้ง มีสภาพเป็นที่ป่าและภูเขา มีที่ราบตามไหล่เขาและที่ราบตอนกลางของพื้นที่ใช้สำหรับการเพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์บ้างเล็กน้อย
ประวัติอำเภอสวนผึ้ง
อำเภอสวนผึ้งเดิมเป็นตำบลสวนผึ้งขึ้นอยู่กับอำเภอจอมบึง จังหวัดราชบุรี ได้อนุมัติให้ตั้งกิ่งอำเภอสวนผึ้งขึ้นเมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2517 เปิดทำการบริการประชาชน เมื่อวันที่ 15 พฤศิกายน 2517 มีเขตการปกครอง 5 ตำบล คือ ตำบลสวนผึ้ง ตำบลป่าหวาย ตำบลบ้านบึง ตำบลท่าเคย และตำบลบ้านคา สภาพท้องถิ่นทุรกันดาร ภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นป่าไม้ มีภูเขาสลับซับซ้อนอยู่ทั่วไป ระยะทางจกาอำเภอจอมบึง 30 ก.ม. ห่างจากตัวจังหวัดราชบุรี 60 กิโลเมตร และได้ประกาศตั้งเป็นอำเภอเมื่อวันที่ 1 เมษายน 2525อำเภอสวนผึ้ง ตั้งอยู่หมู่ที่ 1 ตำบลสวนผึ้ง ริมฝั่งซ้ายของลำน้ำภาชีอยู่ทางด้านทิศตะวันตกของอำเภอจอมบึงและจังหวัดราชบุรีมีพื้นที่รวมทั้งสิ้น 2,145 ตารางกิโลเมตร
คำขวัญ
สาวกะเหรี่ยงเคียงถิ่นตะนาวศรี ลำภาชีแก่งส้มแมวแนวหินผา ธารน้ำร้อนบ่อคลึงตรึงติดตา น้ำผึ้งป่าหวานซึ้งติดตรึงใจ
อาณาเขต
ทิศเหนือ
ติดต่ออำเภอเมืองกาญจนบุรี
ทิศใต้
ติดต่อกับอำเภอเขาย้อย จังหวัดเพชรบุรี
ทิศตะวันออก
ติดต่อกับอำเภอจอมบึง จังหวัดราชบุรี
ทิศตะวันตก
ติดต่อกับสาธารณรัฐสังคมนิยมแห่งสหภาพพม่า
ลักษณะภูมิประเทศ
อำเภอสวนผึ้ง มีสภาพเป็นที่ป่าและภูเขา มีที่ราบตามไหล่เขาและที่ราบตอนกลางของพื้นที่ใช้สำหรับการเพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์บ้างเล็กน้อย
อำเภอวัดเพลง
อำเภอวัดเพลง
ประวัติอำเภอวัดเพลง
อำเภอวัดเพลง ปัจจุบันอยู่ฝั่งขวาของลำแม่น้ำ แควอ้อม ซึ่งเป็นสายน้ำแยกแม่น้ำแม่กลองที่ตำบลบ้านไร่ อำเภอเมืองราชบุรี จังหวัดราชบุรี และไปบรรจบกับแม่น้ำแม่กลองอีกที่ตำบลแควอ้อม อำเภออัมพวา
อำเภอวัดเพลง มีประวัติความเป็นมาดังนี้ เมื่อตั้งขึ้นครั้งแรกชื่ออำเภอวัดประดู่ เพราะสถานที่ตั้งที่ว่าการอำเภอครั้งแรก อยู่ริมคลองวัดประดู่ บริเวณหน้าวัดประดู่ อ้อมตำบลจอมประทัดขณะนี้ การปกครอง การไปติดต่อกับจ้งหวัดราชบุรี ซึ่งในฤดูแล้งน้ำลดมากก็เป็นอุปสรรคในการเดินทาง จึงอนุญาตกระทรวงมหาดไทยย้ายอำเภอแม่น้ำตั้งใหม่ ณ ตำบลปากท่อ ริมสถานีรถไฟ แล้วเปลี่ยนชื่อเป็นอำเภอปากท่อ เมื่ออำเภอแม่น้ำอ้อมได้ถูกโอนไปตั้งเป็น อำเภอปากท่อ แล้ว ทางราชการคงให้สถานีตำรวจภูธรอยู่ตามเดิมมิได้ย้ายไปด้วย เพราะเกรงว่าเหตุการณ์โจรผู้ร้ายจะกำเริบขึ้นและทางราชการก็เห็นสมควรให้ตั้งกิ่งอำเภอขึ้นแทน โดยตั้งชื่อว่ากิ่งอำเภอวัดเพลง มีอาณาเขต 3 ตำบล คือ ตำบลวัดเพลง ตำบลเกาะศาลพระ ตำบลจอมประทัด และได้ยกฐานะเป็นอำเภอวัดเพลง เมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม 2516 อำเภอวัดเพลง อยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของจังหวัดราชบุรี มีอาณาเขตตามแม่น้ำแควอ้อมฝั่งขวาอำเภอวัดเพลง มีเนื้อที่ 40 ตารางกิโลเมตร
คำขวัญ
ถิ่นเพลงปรบไก่ แควอ้อมใสไหลผ่าน ย่านผลไม้รสดี มากมีขนมโบราณ นมัสการเจ้าพ่อหลักหินงามศิลป์โบสถ์ร้อยปี
อาณาเขต
ทิศเหนือ
ติดต่อกับอำเภอบ้านไร่ อำเภอเมืองราชบุรี
ทิศใต้
ติดต่อกับอำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม อำเภอปากท่อ จังหวัดราชบุรี
ทิศตะวันออก
ติดต่อกับอำเภอบางคนที่ จังหวัดสมุทรสงคราม อำเภอเมืองราชบุรี จังหวัดราชบุรี
ทิศตะวันตก
ติดต่อกับอำเภอเมือง อำเภอปากท่อ จังหวัดราชบุรี
ลักษณะภูมิประเทศ
สภาพท้องที่เป็นที่ราบลุ่ม ที่ดอนมีเล็กน้อยอยู่ทางด้านทิศตะวันตก พื้นที่ส่วนใหญ่ขึ้นอยู่กับจังหวัดราชบุรี มีนายอำเภอคนแรก คือ พระสุนทรบริรักษ์
ประวัติอำเภอวัดเพลง
อำเภอวัดเพลง ปัจจุบันอยู่ฝั่งขวาของลำแม่น้ำ แควอ้อม ซึ่งเป็นสายน้ำแยกแม่น้ำแม่กลองที่ตำบลบ้านไร่ อำเภอเมืองราชบุรี จังหวัดราชบุรี และไปบรรจบกับแม่น้ำแม่กลองอีกที่ตำบลแควอ้อม อำเภออัมพวา
อำเภอวัดเพลง มีประวัติความเป็นมาดังนี้ เมื่อตั้งขึ้นครั้งแรกชื่ออำเภอวัดประดู่ เพราะสถานที่ตั้งที่ว่าการอำเภอครั้งแรก อยู่ริมคลองวัดประดู่ บริเวณหน้าวัดประดู่ อ้อมตำบลจอมประทัดขณะนี้ การปกครอง การไปติดต่อกับจ้งหวัดราชบุรี ซึ่งในฤดูแล้งน้ำลดมากก็เป็นอุปสรรคในการเดินทาง จึงอนุญาตกระทรวงมหาดไทยย้ายอำเภอแม่น้ำตั้งใหม่ ณ ตำบลปากท่อ ริมสถานีรถไฟ แล้วเปลี่ยนชื่อเป็นอำเภอปากท่อ เมื่ออำเภอแม่น้ำอ้อมได้ถูกโอนไปตั้งเป็น อำเภอปากท่อ แล้ว ทางราชการคงให้สถานีตำรวจภูธรอยู่ตามเดิมมิได้ย้ายไปด้วย เพราะเกรงว่าเหตุการณ์โจรผู้ร้ายจะกำเริบขึ้นและทางราชการก็เห็นสมควรให้ตั้งกิ่งอำเภอขึ้นแทน โดยตั้งชื่อว่ากิ่งอำเภอวัดเพลง มีอาณาเขต 3 ตำบล คือ ตำบลวัดเพลง ตำบลเกาะศาลพระ ตำบลจอมประทัด และได้ยกฐานะเป็นอำเภอวัดเพลง เมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม 2516 อำเภอวัดเพลง อยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของจังหวัดราชบุรี มีอาณาเขตตามแม่น้ำแควอ้อมฝั่งขวาอำเภอวัดเพลง มีเนื้อที่ 40 ตารางกิโลเมตร
คำขวัญ
ถิ่นเพลงปรบไก่ แควอ้อมใสไหลผ่าน ย่านผลไม้รสดี มากมีขนมโบราณ นมัสการเจ้าพ่อหลักหินงามศิลป์โบสถ์ร้อยปี
อาณาเขต
ทิศเหนือ
ติดต่อกับอำเภอบ้านไร่ อำเภอเมืองราชบุรี
ทิศใต้
ติดต่อกับอำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม อำเภอปากท่อ จังหวัดราชบุรี
ทิศตะวันออก
ติดต่อกับอำเภอบางคนที่ จังหวัดสมุทรสงคราม อำเภอเมืองราชบุรี จังหวัดราชบุรี
ทิศตะวันตก
ติดต่อกับอำเภอเมือง อำเภอปากท่อ จังหวัดราชบุรี
ลักษณะภูมิประเทศ
สภาพท้องที่เป็นที่ราบลุ่ม ที่ดอนมีเล็กน้อยอยู่ทางด้านทิศตะวันตก พื้นที่ส่วนใหญ่ขึ้นอยู่กับจังหวัดราชบุรี มีนายอำเภอคนแรก คือ พระสุนทรบริรักษ์
อำเภอบ้านคา
อำเภอบ้านคา
ประวัติอำเภอบ้านคา
อำเภอบ้านคา เดิมอยู่ในเขตปกครองของอำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี แต่เนื่องจากอำเภอสวนผึ้งมีอาณาเขตกว้างขวางและประชากรมาก ท้องที่บางตำบลอยู่ห่างไกลตัวอำเภอ ทำให้เจ้าหน้าที่ออกตรวจตราดูแลทุกข์สุขของราษฎรได้ไม่ทั่วถึง และสภาพท้องที่โดยทั่วๆ ไปมีแนวโน้มว่าจะมีความเจริญขยายตัวมากยิ่งขึ้นเรื่อยๆกระทรวงมหาดไทยจึงได้แบ่งท้องที่อำเภอสวนผึ้งตั้งเป็นกิ่งอำเภอ เรียกว่า "กิ่งอำเภอบ้านคา" ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2540 เป็นต้นมา และต่อมาได้มีพระราชกฤษฎีกายกฐานะขึ้นเป็นอำเภอ ในวันที่ 24 สิงหาคม 2550 มีเขตการปกครองแบ่งออกเป็น 3 ตำบล คือ ตำบลบ้านคา ตำบลบ้านบึง และตำบลหนองพันจันทร์ มีหมู่บ้านรวม 34 หมู่บ้าน
คำขวัญ
สับปะรดหวานฉ่ำ งามล้ำตะนาวศรีมากมีแร่ธาตุ กราบอัฐิหลวงปู่เทสก์แดนนิเวศน์เชิงคีรี ถิ่นคนดีชายแดน
ที่ตั้งและอาณาเขต
ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอสวนผึ้ง
ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอจอมบึงและอำเภอปากท่อ
ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอหนองหญ้าปล้อง (จังหวัดเพชรบุรี)
ทิศตะวันตก ติดต่อกับเขตตะนาวศรี (สหภาพพม่า)
ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่สำคัญ
1. ภูเขาต่างๆ และเทือกเขาตะนาวศรี
2. น้ำตกซับเตย และน้ำตกห้วยสวนพลู
3. ป่าไม้ด้านทิศใต้และตะวันออกของกิ่งอำเภอ
4. ลำห้วยท่าเคย, มะหาด, พุบอน, กระชาย, หนองน้ำขุ่น และลำห้วยสาขาต่างๆ ที่เกิดจากเทือกเขาตะนาวศรี
5. บ่อน้ำพุร้อนที่บ้านน้ำพุร้อน หมู่ที่ 4 ต.บ้านบึง
6. แร่ธาตุต่างๆ เช่น เฟลสปาร์ เป็นต้น
ลักษณะภูมิอากาศโดยทั่วไป
ฤดูหนาวอากาศหนาวถึงหนาวจัด ฤดูร้อนอากาศเย็นสบาย
พื้นที่
มีเนื้อที่รวมทั้งสิ้น 1,026 ตารางกิโลเมตร
ประวัติอำเภอบ้านคา
อำเภอบ้านคา เดิมอยู่ในเขตปกครองของอำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี แต่เนื่องจากอำเภอสวนผึ้งมีอาณาเขตกว้างขวางและประชากรมาก ท้องที่บางตำบลอยู่ห่างไกลตัวอำเภอ ทำให้เจ้าหน้าที่ออกตรวจตราดูแลทุกข์สุขของราษฎรได้ไม่ทั่วถึง และสภาพท้องที่โดยทั่วๆ ไปมีแนวโน้มว่าจะมีความเจริญขยายตัวมากยิ่งขึ้นเรื่อยๆกระทรวงมหาดไทยจึงได้แบ่งท้องที่อำเภอสวนผึ้งตั้งเป็นกิ่งอำเภอ เรียกว่า "กิ่งอำเภอบ้านคา" ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2540 เป็นต้นมา และต่อมาได้มีพระราชกฤษฎีกายกฐานะขึ้นเป็นอำเภอ ในวันที่ 24 สิงหาคม 2550 มีเขตการปกครองแบ่งออกเป็น 3 ตำบล คือ ตำบลบ้านคา ตำบลบ้านบึง และตำบลหนองพันจันทร์ มีหมู่บ้านรวม 34 หมู่บ้าน
คำขวัญ
สับปะรดหวานฉ่ำ งามล้ำตะนาวศรีมากมีแร่ธาตุ กราบอัฐิหลวงปู่เทสก์แดนนิเวศน์เชิงคีรี ถิ่นคนดีชายแดน
ที่ตั้งและอาณาเขต
ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอสวนผึ้ง
ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอจอมบึงและอำเภอปากท่อ
ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอหนองหญ้าปล้อง (จังหวัดเพชรบุรี)
ทิศตะวันตก ติดต่อกับเขตตะนาวศรี (สหภาพพม่า)
ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่สำคัญ
1. ภูเขาต่างๆ และเทือกเขาตะนาวศรี
2. น้ำตกซับเตย และน้ำตกห้วยสวนพลู
3. ป่าไม้ด้านทิศใต้และตะวันออกของกิ่งอำเภอ
4. ลำห้วยท่าเคย, มะหาด, พุบอน, กระชาย, หนองน้ำขุ่น และลำห้วยสาขาต่างๆ ที่เกิดจากเทือกเขาตะนาวศรี
5. บ่อน้ำพุร้อนที่บ้านน้ำพุร้อน หมู่ที่ 4 ต.บ้านบึง
6. แร่ธาตุต่างๆ เช่น เฟลสปาร์ เป็นต้น
ลักษณะภูมิอากาศโดยทั่วไป
ฤดูหนาวอากาศหนาวถึงหนาวจัด ฤดูร้อนอากาศเย็นสบาย
พื้นที่
มีเนื้อที่รวมทั้งสิ้น 1,026 ตารางกิโลเมตร